การดำเนินงานของประเทศไทย

665 9 มิ.ย. 2566

การดำเนินงานของประเทศไทย 

 

1. ความเป็นมาและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

           ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก GEF เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ซึ่งปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 185 ประเทศ ทั้งนี้ GEF กำหนดให้แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการเข้ามารับผิดชอบในฐานะหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ (Operational Focal Point: OFP) เพื่อปฏิบัติหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงาน และงบประมาณ ตลอดจนประสาน

และกลั่นกรองข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์เพื่อขอรับการสนับสนุนจาก GEF

           ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มีมติเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติหน้าที่ OFP มีอำนาจในการพิจารณาให้การรับรองโครงการ (Endorsement) ที่ขอรับการสนับสนุนจาก GEF และเห็นชอบให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ

นำเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ก่อนการลงนามในข้อตกลงทางการเงิน สำหรับกรณีที่โครงการได้รับอนุมัติสนับสนุนทางการเงินจาก GEF และมีข้อผูกพันทางการเงินที่เป็นตัวเงิน (In Cash) ร่วมสนับสนุนในการดำเนินโครงการ

 

2. คณะกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

          เพื่อให้การพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจาก GEF เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ GEF และเป็นไปตามความต้องการของประเทศ สอดคล้องกับนโยบายและแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ

และมีศักยภาพในการดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ (OFP) จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ดังนี้

          2.1 คณะกรรมการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก

          2.2 คณะทำงานเพื่อกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ประกอบด้วย 6 คณะทำงาน 

               1. คณะทำงานสหสาขากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก 

               2. คณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

               3. คณะทำงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 

               4. คณะทำงานด้านการจัดการของเสียและสารเคมี 

               5. คณะทำงานด้านการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดิน

               6. คณะทำงานด้านการจัดการน่านน้ำสากล

 

3.ขั้นตอนการพิจารณาโครงการ

         เมื่อประเทศไทยได้รับทราบกรอบงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจาก GEF ในแต่ละรอบแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในฐานะ OFP ของประเทศไทยจะเริ่มดำเนินการพิจารณาจัดสรรวงเงินงบประมาณให้กับโครงการต่างๆ ที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนจาก GEF

โดยใช้กรอบยุทธศาสตร์และแผนการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (National Portfolio Formulation Document: NPFD) เป็นเครื่องมือ

ในการจัดสรรงบประมาณโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาระดับโลกของประเทศไทยอย่างแท้จริงในแต่ละรอบการสนับสนุนของ GEF ซึ่งใน NPFD จะมีการบรรจุรายการโครงการทั้งโครงการที่อยู่ในลำดับความสำคัญของประเทศไทย

(priority project) และโครงการสำรองที่เสนอขอรับการสนับสนุนจาก GEF ทั้งในกรอบและนอกกรอบ STAR ทั้งนี้ โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการที่อยู่ในลำดับความสำคัญ (priority project) จะต้องพัฒนาเอกสารโครงการ (PIF) ร่วมกับ GEF Agencies และจัดส่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขานุการ OFP เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาโครงการของคณะทำงานและคณะกรรมการ

 

 

4. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการ 

คณะกรรมการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเอกสารโครงการ

(Project Identification Form: PIF) ซึ่งครอบคลุมหลักเกณฑ์การพิจารณาเอกสารโครงการของ GEF ไว้ดังนี้