หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

357 8 มิ.ย. 2566

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

         

         1. สมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Assembly)
               การประชุมสมัชชากองทุนสิ่งแวดล้อมโลก มีการประชุมทุก 3-4 ปี เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายและการประเมินผลการดำเนินงาน

ตามนโยบายโดยรวมของ GEF และพิจารณาสมาชิกภาพ ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงนโยบาย (Political Focal Point: PFP) และ หน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ (Operational Focal Point: OFP) จากประเทศสมาชิกทั้งหมด ปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ รวมถึงผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ GEF ให้การสนับสนุนโดยมีการประชุม

 

          2. คณะมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Council)

            คณะมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก เป็นคณะกรรมการอิสระมีหน้าที่หลักในการพิจารณาอนุมัติเงินงบประมาณให้กับโครงการ

ของแต่ละประเทศที่เสนอขอรับการสนับสนุนจาก GEF และประเมินผลการดำเนินงานต่างๆ ของ GEF ซึ่งสมาชิกของ GEF Council ประกอบด้วย

ผู้แทนจาก 32 กลุ่มประเทศ (Constituencies) โดยเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 16 กลุ่ม กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 14 กลุ่ม และจากกลุ่มประเทศซึ่งเศรษฐกิจอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม 2 กลุ่ม ทั้งนี้ GEF Council จะประชุมปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนมิถุนายน และธันวาคม ของทุกปี             

            ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนากลุ่ม East Asia Constituency มีสมาชิก 8 ประเทศ ประกอบด้วย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในแต่ละกลุ่มประเทศจะต้องแต่งตั้งประเทศที่เป็นตัวแทนกลุ่มทั้งผู้แทนหลัก (Member) และผู้แทนสำรอง (Alternate) เพื่อเข้าร่วมประชุม GEF Council ทั้งนี้ การเป็นผู้แทนหลักและผู้แทนสำรองของกลุ่ม 5 มีวาระ

การดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี

 

            3. สำนักเลขาธิการกองทุนสิ่งแวดล้อม (GEF Secretariat)

               สำนักเลขาธิการกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF Secretariat) ทำหน้าที่ประสานงานในการนำโครงการต่างๆ บรรจุไว้ในแผนงานประจำ

ปีของ GEF (GEF Work Programme) เพื่อให้ GEF Council พิจารณาอนุมัติ รวมทั้งประสานงานเพื่อยกร่างแผนการดำเนินงานและควบคุมดูแล

การปฏิบัติงานของโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน และตรวจสอบให้แน่ใจว่าโครงการเหล่านั้นดำเนินไปตามยุทธศาสตร์และนโยบาย

ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดย GEF Secretariat จะรายงานผลการปฏิบัติงานต่อ GEF Council และ GEF Assembly ตลอดจนดูแลให้มีการดำเนินงาน

ตามนโยบายของ GEF Council และ GEF Assembly อย่างเป็นรูปธรรม

 

            4. คณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค (Scientific & Technical Advisor Panel: STAP)

                คณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค (STAP) ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาของ GEF ทำหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานโดยตรงต่อ GEF Council ซึ่งเป็นผู้กำหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของ STAP โดยจะให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์

และเทคนิค เพื่อการกำหนดนโยบาย การวางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน และแผนงานของ GEF นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการ

ในบางช่วงของการดำเนินโครงการ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ รวมถึงการจัดประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญ จัดเตรียมรายงานประกอบการกำหนดกรอบการดำเนินงานของ GEF ประเมินผลการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ และจัดทำรายงานทางเลือกด้านวิทยาศาสตร์

และเทคนิคที่เกี่ยวกับแผนงานของ GEF นอกจากนี้ คณะที่ปรึกษาฯ ยังมีหน้าที่กลั่นกรองโครงการขนาดใหญ่ (Full Sized Project) และโครงการ

ที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาโครงการ (GEF Project Cycle) และทำหน้าที่ประสานกับคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรย่อยของอนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

           5องค์กรภาคประชาสังคม (Civil-Society Organizations)

               องค์กรภาคประชาสังคมมีบทบาทในฐานะผู้สนับสนุนที่มีความรู้และมีประสบการณ์ ซึ่งในการปรับโครงสร้างและแนวนโยบายของ GEF

ได้เปิดโอกาสให้องค์กรภาคประชาสังคม ทั้งจากระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วม มิใช่แต่เฉพาะในระดับโครงการ แต่ยังรวมถึง

ในระดับนโยบายด้วย

 

          6. หน่วยงานบริหารโครงการ (GEF Agency)

          หน่วยงานบริหารโครงการของ GEF (GEF Agencies) มีหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอโครงการและการบริหารจัดการโครงการ รวมถึง

มีบทบาทสำคัญในการช่วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรภาคประชาสังคม ในการพัฒนา ดำเนินงาน และบริหาร

จัดการของโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุนจาก GEF โดย GEF Agencies ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการในประเทศไทย 

                                                     

        7. GEF-Country Focal Point

          ประเทศสมาชิกของ GEF จะต้องแต่งตั้งหน่วยงานจากภาครัฐ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการ

ที่ประเทศได้รับการสนับสนุนจาก GEF ตอบสนองนโยบายสำคัญในลำดับต้นๆ ของประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวประกอบด้วย 

         - หน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงนโยบาย (Political Focal Points: PFP) ทำหน้าที่ประสานนโยบายและหลักการดำเนินงาน

ของ GEF ประเทศไทยมีรองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

         - หน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ (Operational Focal Point: OFP) ทำหน้าที่ให้การรับรองข้อเสนอโครงการ
ก่อนนำเสนอขอรับการสนับสนุนจาก GEF และให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการนำโครงการไปปฏิบัติให้บังเกิดผล ประเทศไทยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และมีกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นฝ่ายเลขานุการหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ (GEF OFP Secretariat)