ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
(Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership: CPTPP)
ประเทศไทยอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกโดยอยู่ในขั้นตอนการศึกษาประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย
โดยมีข้อบทที่เกี่ยวข้องกับด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือข้อบทที่ 20 สิ่งแวดล้อม มีข้อย่อยประกอบด้วย
1. ให้มีการส่งเสริมประโยชน์ระหว่างการค้าและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานความคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยต้องคำนึงถึงความพร้อม
และสถานการณ์ที่แตกต่างกันของภาคี และจะต้องไม่ใช้กฎหมายหรือมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า
2. ให้มีการบังคับใช้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายภายในประเทศที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้กำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมภายในประเทศเพิ่มเติมได้ในอนาคต
3. ให้ยืนยันสิทธิและพันธกรณีภายใต้ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่แต่ละภาคีเป็นสมาชิกอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
4. ให้มีความครอบคลุมถึงมาตรฐานสากลและการปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า เช่น การปกป้อง
ชั้นบรรยากาศโอโซน
5. การปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากมลพิษทางเรือ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความหลากหลายทางชีวภาพ การกำกับดูแล การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประมงทะเล
การอนุรักษ์และการค้า สินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
6. ให้มีความโปร่งใส กลไกในการมีส่วนร่วม การรับฟังความเห็นสาธารณะ และการร้องเรียน
7. ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการและกำหนดผู้ประสานงานหลักระหว่างประเทศภาคี
8. ส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
9. ให้มีกลไกในการหารือระหว่างภาคีเพื่อทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติตามข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมของความตกลง ทั้งในระดับเจ้าหน้าที่
ระดับสูงและระดับรัฐมนตรี
10. ให้มีกลไกในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายใต้ข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อม