ที่มา: https://www.global-traceability.com/eudr-eu-deforestation-free-regulation/
กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า
(EU Regulation on Deforestation-Free Products: EUDR) ของสหภาพยุโรป
ปัจจุบันร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรปแล้วและรัฐสภาของประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศ เห็นชอบแล้ว โดยคาดการณ์ว่า กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ประมาณเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2566 ซึ่งในช่วง 18 เดือนแรก ทุกประเทศคู่ค้าจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงปานกลาง อย่างไรก็ตาม ในเวทีการประชุม WTO ประเทศสมาชิกได้มีการแจ้งข้อห่วงกังวลต่อกฎหมายดังกล่าว และมีสมาชิก WTO จำนวน 14 ประเทศ ได้มีหนังสือถึงสหภาพยุโรปเพื่อขอให้พิจารณาทบทวนกฎหมายดังกล่าว และเห็นควรให้มีการหารือกับประเทศที่ได้รับผลกระทบก่อนการประกาศบังคับใช้ สำหรับ Deforestation-free products มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการบริโภคสินค้าจากห่วงโซ่อุปทานที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้หรือความเสื่อมโทรมของป่าไม้ให้มากที่สุด Deforestation-free products มีข้อกำหนดต่างๆ โดยบังคับใช้กฎหมายและกลไกต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เพื่อการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้ถือเป็นข้อบังคับที่ผู้ประกอบการสหภาพยุโรปและผู้นำเข้าไม้จากนอกสหภาพยุโรปต้องปฏิบัติตาม โดยจะมีการพัฒนาและปรับปรุงระบบการตรวจสอบที่เหมาะสม
(Due Diligence) ของกฎหมายควบคุมการค้าไม้ของสหาภาพยุโรป (EUTR) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีขอบเขตครอบคลุมสินค้าเข้าและสินค้าออก
ของสหภาพยุโรปจำพวกไม้ และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้สูงที่สุดในสหภาพยุโรป 7 จำพวก ได้แก่ ได้แก่ ยางพารา ไม้ เนื้อวัว โกโก้ กาแฟ ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลือง จะต้องแจ้งข้อมูลการดำเนินการเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่า ตลอดกระบวนการผลิตสินค้าดังกล่าวไม่มีความเชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่าและมีผลทำให้ป่าเสื่อมโทรม โดยสหภาพยุโรปจะตรวจสอบข้อมูล อาทิ ข้อมูลแหล่งผลิต พิกัดทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เพาะปลูก ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน และมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสม ทั้งนี้ สหภาพยุโรปจะจัดกลุ่มประเทศคู่ค้าเป็น 3 กลุ่มตามระดับ
ความเสี่ยงต่อการตัดไม้ทำลายป่า ได้แก่ กลุ่มความเสี่ยงสูง (มีมาตรการตรวจสอบขั้นสูงสุด) กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง และกลุ่มความเสี่ยงต่ำโดยสหภาพยุโรป
จะได้มีการใช้ 3 กลไกหลักในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่
1) กลไก Due Diligence ด้วยการจัดทำเอกสารระบุข้อมูลสินค้าทั่วไป เอกสารประเมินความเสี่ยง เอกสารแนวทางบรรเทาความเสี่ยง
2) กลไกตรวจสอบย้อนกลับด้วยเทคนิค Geo - location คือข้อมูลพิกัดลองจิจูดและละติจูดของพื้นที่การผลิต และ
3) กลไก Country Benchmarking ถือเป็นกลไกหลักของร่างกฎหมายนี้ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงสูงใจให้ประเทศต่าง ๆ สร้างระบบการปกป้องป่าไม้
และระบบธรรมาภิบาลป่าไม้ให้ดียิ่งขึ้น โดยสำหรับประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า สำหรับ โคกระบือ โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง จะยังไม่ส่งผล
กระทบภาพร่วมการส่งออกของไทยมากนักใน แต่กับกลุ่มผู้ส่งออกสินค้าไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ และสินค้าเครื่องหนัง ยางพาราจะได้รับผลกระทบแน่นอน
ซึ่งในกรณีนี้จะกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ในส่วนของการจัดลำดับตามเกณฑ์ Country Benchmarking
ของไทย
เอกสารแนบ
- ประเภท : .pdf
- ดาวน์โหลด : 300 ครั้ง