European Green Deal

1475 5 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นโยบาย European Green Deal 

การต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สหภาพยุโรปให้ความสนใจอย่างมาก สหภาพยุโรปถือเป็นผู้นำของโลก
ในการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนและลดก๊าซเรือนกระจก เมื่อปี พ.ศ. 2550 สหภาพยุโรปได้กำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนที่ชัดเจนใน Energy and Climate Change Package ควบคู่กับการออกมาตรการและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่มีความเข้มงวด
และซับซ้อนยิ่งขึ้นและจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจการค้ากับประเทศที่สาม โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปประกาศแผนนโยบาย Green Deal ซึ่งเป็นนโยบายการลด
และต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายขับเคลื่อนยุโรปสู่สังคมไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และเป็นผู้นำในเวทีโลกด้านอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสะอาด โดยเนื้อหาสำคัญ 10 ประการของแผนนโยบาย Green Deal ดังนี้

     1) การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยมีการปรับเปลี่ยนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากปัจจุบันอยู่ที่ 40% เพิ่มเป็น 50 - 55% ภายในปี ค.ศ. 2030 (เทียบกับปี ค.ศ. 1990 แต่ทว่ายังจะต้องมีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของเป้าหมายใหม่อีกที่หนึ่ง คณะกรรมาธิการยุโรปจะทำการพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปให้สอดคล้องกับเป้าหมายใหม่ โดยจะเริ่มที่กฎระเบียบพลังงานทดแทน (Renewable Energy Directive, RED)

     2) แผนนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนฉบับใหม่ ครอบคลุมประเด็นผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยจะอธิบายถึงวิธีการผลิตที่ลดการใช้ วัสดุและทรัพยากร
และการออกแบบเพื่อส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล เช่น กรณีของแบตเตอรี่

     3) การเพิ่มอัตราการปรับปรุงอาคาร

     4) สังคมไร้มลพิษ แผนนโยบาย Green Deal ต้องการสร้างสังคมที่ไร้มลพิษ ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ดิน และน้ำ ต้องปลอดจากสารมลพิษภายในปี ค.ศ. 2050

     5) ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ สหภาพยุโรปต้องการเป็นผู้นำในการพัฒนามาตรการเพื่อจัดการกับปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น มาตรการจัดการมลพิษในดินและน้ำ และแผนกลยุทธ์ป่าไม้ฉบับใหม่ที่จะมุ่งเน้น
การเพิ่มอัตราการปลูกป่า ทั้งในเขตเมืองและชนบท และกฎการใช้ฉลากเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีกระบวนการผลิตปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า

     6) กลยุทธ์จากฟาร์มถึงปลายส้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบเกษตรกรรมสีเขียวเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งจะมีการพิจารณาลดการใช้ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยสารเคมี และยาต้านจุลชีพ อย่างมีนัยสำคัญ

     7) การขนส่ง ปัจจุบันเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งสหภาพยุโรปมีความมุ่งมั่นที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในภาคส่วนนี้ให้เป็นศูนย์ในช่วงปี ค.ศ. 2023 โดยจะมีการกระตุ้นและส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า

     8) การเงิน สหภาพยุโรปเตรียมใช้เครื่องมือทางการเงิน Just Transition Mechanism เพื่อช่วยประเทศ ภูมิภาค และภาคธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลัก

     9) การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมขอบข่ายโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรป ฉบับที่ 9 หรือ Horizon Europeครอบคลุมช่วงปี
ค.ศ. 2021 - 2027 จะส่งเสริมแผนนโยบาย (Green Deal) เช่นกัน โดยร้อยละ 35 ของทุนวิจัยจะนำไปส่งเสริมการวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

    10) ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สหภาพยุโรปมุ่งใช้มาตรการทางการทูต ในการสนับสนุนแผนนโยบาย Green Deal ซึ่งหนึ่งในมาตรการ คือ ข้อเสนอ
การจัดเก็บภาษีคาร์บอน ณ ชายแดน ในขณะที่สหภาพยุโรปเพิ่มมาตรการต่าง ๆ ในการรักษาสิ่งแวดล้อม สหภาพยุโรปจึงอยากเห็นประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
แสดงเจตจำนงที่สอดคล้องกัน และสหภาพยุโรปจะป้องกันเศรษฐกิจในภูมิภาคจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

พัฒนาการล่าสุด

EU Green Deal คือ มีการขับเคลื่อนการบังคับใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) และกฎหมาย
ว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (EU Regulation on Deforestation-Free Products: EUDR) ของสหภาพยุโรป 
เพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change)