โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

664 13 ก.ค. 2566

ความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

โครงการ Global Biodiversity Framework Early Action Support (GBF EAS Project) 

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ UNDP ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากวงเงิน GEF-7 set aside เพื่อดำเนินการระยะเวลา 24 เดือน ระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 8567

 

โครงการ Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN) ระยะที่ 2 ช่วงต่อขยายโครงการ พ.ศ. 2565 - 2568

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ UNDP ดำเนินงาน เพื่อมุ่งเน้นการนำผลการศึกษาเกี่ยวกับกลไกและเครื่องมือการเงินด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มาขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับโครงการ Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN) ระยะที่ 2 ช่วงต่อขยายโครงการ พ.ศ. 2565 – 2568

 

ปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งดำเนินโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก รอบที่ 8 (GEF-8 set aside) สาขาความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก รอบที่ 7 (GEF-7 และ GEF-7 set aside) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพ

 

โครงการ The Global Biodiversity Framework Early Action Support project ระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2566 โดยได้รับการสนับสนุนจาก UNDP

การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับประเทศ  (National Biodiversity Strategies and Action Plans: NBSAPs) 

โดยร่วมกันพัฒนารูปแบบ รวมทั้งกลไกและเครื่องมือการเงินด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ โดยจะมีการทบทวนจัดทำแผนปฏิบัติฯ และจัดทำเป้าหมายระดับชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (National Targets) ฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะยาว (Long-term Strategy) ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการจัดทำกลไกและแนวทางการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เชื่อมโยงกับกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลฯ และอยู่ระหว่างผลักดันการดำเนินงานต่อเนื่องตามแผนการดำเนินงานของกลไกการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้ 

1. กลไกการเงินด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่องการจัดเก็บค่าใช้บริการสิ่งแวดล้อมบนเกาะเต่าจากนักท่องเที่ยวเพื่อนำมาดูแลระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และกลไกการเงินการระดมทุนสาธารณะ (crowdfunding) เพื่อลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพช่วงวิกฤต COVID-19

2. กลไกการเงินด้านการร่วมลงทุนของภาครัฐกับภาคเอกชน เรื่อง การจัดการและพัฒนาระบบนิเวศป่าชายเลนอย่างยั่งยืนจังหวัดเพชรบุรี และการลงทุนในกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 

3. กลไกการเงินด้านงบประมาณของภาครัฐ เรื่อง การจัดทำระบบงบประมาณระดับท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลต่อการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะทำงานการจัดทำงบประมาณระดับท้องถิ่นเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อกำหนดพื้นที่และกลไกที่เหมาะสมในการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครงการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

โครงการ Climate Promise: Additional Support to Thailand NDC Implementation ในประเด็นการส่งเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วมของเยาวชนในเป้าหมาย NDC/NAP และแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระยะยาว

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมดำเนินโครงการร่วมกับ UNDP โดยดำเนินการตั้งแต่สิงหาคม – ธันวาคม 2565 จัดกิจกรรมรวมทั้งสิ้น 4 กิจกรรม ได้แก่

1. การประชุมเชิงปฏิบัติการการเสริมพลังความร่วมมือเพื่อเปลี่ยนคำมั่นสู่ผลสัมฤทธิ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Inception Workshop) จำนวน 1 ครั้ง

2. การประชุมเชิงปฏิบัติการการเสริมพลังความร่วมมือเพื่อเปลี่ยนคำมั่นสู่ผลสัมฤทธิ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมศักยภาพเยาวชนและการมีส่วนร่วมของเยาวชนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จำนวน 1 ครั้ง

3. ค่ายผู้นำเยาวชน Thailand Youth Climate Leaders 2022 จำนวน 1 ครั้ง

4. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อวาระปฏิบัติการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ 1 ครั้ง

 

ผลลัพธ์จากการร่วมดำเนินโครงการดังกล่าว ได้แก่ “วาระปฏิบัติการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (Thailand Youth Climate Action Agenda)” ซึ่งเป็นการสนับสนุนเยาวชนให้มีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในบทบาทผู้นำและผู้สนับสนุนของภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สื่อมวลชน และองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงสนับสนุนให้มีผู้แทนเยาวชนในคณะเจรจาในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP27) ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม UNDP และเครือข่ายเยาวชนระดับโลกเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพประจำประเทศไทย (GYBN Thailand) ตระหนักถึงความสำคัญของการขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดจัด เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ การมีส่วนร่วมของเยาวชนไทยจากการเข้าร่วมในเวทีเจรจาระดับโลก