องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO)

7343 5 ก.ค. 2566

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของ สหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ .ศ. 2488 เพื่อเป็นกำลังช่วยเหลือภารกิจขององค์การ สหประชาชาติในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพที่มั่นคงและยืนนาน แก้ไขปัญหาและจุดอ่อนที่เป็นสาเหตุให้เกิดความ ขัดแย้งและสงครามทำลายล้าง รวมพลังกลุ่มบุคคลด้านพุทธิปัญญา วัฒนธรรม ศิลปะ นันทนาการ การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม ศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และเพื่อสร้างเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

 

ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 นับเป็นประเทศ สมาชิกลำดับที่ 49 และคณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (National Commission for UNESCO) เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรของ ยูเนสโก โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน และรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฝ่ายการต่างประเทศ) เป็นเลขาธิการ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2492 มีการจัดตั้งสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานแห่งชาติกับยูเนสโก ใน 6 ด้านได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม การสื่อสารและ สารสนเทศ ด้านสุดท้ายเป็นหัวข้อพิเศษ ในทางปฏิบัติมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่าย ต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงาน เฉพาะด้านตามภารกิจและความชำนาญ

คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อปฏิบัติงาน เฉพาะด้านตามภารกิจและความชำนาญตามสาขางานขององค์การยูเนสโก ได้แก่

          - คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา ของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน

          - คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ ของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธาน

          - คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม ของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน

          - คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชน ของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีอธิบดี กรมประชาสัมพันธ์ เป็นประธาน

          - คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์ ของคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นประธาน

          - คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ มีศาสตราจารย์พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นประธาน

          - คณะกรรมการโครงการมนุษย์และชีวมณฑลของคณะกรรมการ แห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน

          นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับองค์การ ยูเนสโกที่สำคัญ ได้แก่

          - คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก แต่งตั้งขึ้นตามประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงาน ตามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ ทางธรรมชาติ พ.ศ.๒๕๕๙ โดยได้ประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก หรือ กอม. มีองค์ประกอบกรรมการทั้งหมด ๒๕ คน มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับ มอบหมายเป็นประธาน และมีรองประธาน ๓ คน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้มีเลขาธิการ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

          - คณะกรรมการส่งเสริมจริยธรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่งตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑ มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นเลขานุการร่วม โดยมีนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นประธาน มีองค์ประกอบทั้งสิ้น ๒๖ ท่าน

- เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning Cities)

เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning Cities) จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้าง ความเสมอภาค ความยุติธรรมทางสังคม การรวมตัวทางสังคมและ ความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน

 

- โครงการการศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ (UNESCO Associated Schools Project: ASP)

โครงการนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของโลกและประเทศต่าง ๆ ให้แก่เด็กและเยาวชน กระตุ้นการเรียนรู้เกี่ยวกับชาติต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและ สันติภาพระหว่างกัน รวมทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน สันติภาพ และสิ่งแวดล้อม ตามข้อเสนอของสหประชาชาติ โดยยูเนสโกได้เริ่มดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ในสถานศึกษาเมื่อปี 2496 ปัจจุบันมีสถานศึกษาหลายระดับสมัครเป็น สมาชิกของโครงการ จำนวนเกือบ 10,000 แห่งในกว่า 181 ประเทศ

 

ประเทศไทยได้สมัครเป็นสมาชิกโครงการในปี 2501 โดยมี วิทยาลัยครู 2 แห่งแรกที่เข้าร่วมโครงการ คือวิทยาลัยครูสวนสุนันทาและ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี ต่อมาได้ขยายไปสู่โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ปัจจุบันมีโรงเรียนระดับประถม มัธยม สถาบันราชภัฏ วิทยาลัยอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ สถานศึกษาเอกชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการทั้งสิ้น 129 แห่ง

 

- มรดกโลก (World Heritage)

 อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ของโลก (The World Heritage Convention) ได้รับความเห็นชอบจากที่ ประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ.2551 ภายใต้ประเทศ ภาคีอนุสัญญามรดกโลกมีสมาชิกทั้งสิ้น 193 ประเทศ (ข้อมูล ณ ปีพ.ศ. 2560) เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ แหล่งมรดกโลกได้รับการคุ้มครองและสงวนรักษาอย่างจริงจังโดยมี วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และเชิดชูคุณค่าแหล่งมรดกโลก อันทรงคุณค่า โดดเด่นอันเป็นสากลที่มนุษย์สร้างสรรค์ เพื่อปกป้องรักษาให้ดำรงอยู่ เป็นมรดกโลกแห่งมวลมนุษยชาติต่อไป อนุสัญญาดังกล่าวได้แบ่งพื้นที่ มรดกโลกออกเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม (cultural heritage) มรดกโลกทางธรรมชาติ (natural heritage) และมรดกโลกแบบผสมผสาน (mixed heritage) การดำเนินงานภายใต้อนุสัญญาดังกล่าว ทำให้รัฐภาคีมีการเสนอ แหล่งมรดกโลกเพื่อเป็นการประกาศคุณค่าแหล่งมรดกในฐานะที่เป็น สถานที่สำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงกระตุ้นด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและความ พยายามร่วมกันในการปกป้องคุ้มครอง เปิดโอกาสให้มีการรวบรวมเงินทุน และการสนับสนุนด้านเทคนิคและวิชาการที่เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์และ การบริหารจัดการอย่างถูกต้อง และสามารถนำมาปรับใช้กับแหล่งมรดกอื่น ๆภายในประเทศได้ การนำเสนอเพื่อขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกจะมีความ เกี่ยวข้องโดยพื้นฐานกับศักยภาพคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value) ของแหล่ง กระบวนการนำเสนอโดยไม่ควรจะมี แรงจูงใจอยู่ที่ความคาดหวังถึงโอกาสของการพัฒนาการทางเศรษฐกิจเป็น อันดับแรก การนำเสนอเพื่อขึ้นบัญชีมรดกโลกเป็นเพียงจุดเริ่มต้นไปสู่ กระบวนการอนุรักษ์ในทุกระดับ หากประสบความสำเร็จจะผูกพันกับรัฐภาคีในการดูแลรักษาแหล่งมรดกนั้น ๆ เพื่อให้คุณค่าที่โดดเด่นได้รับ การปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์ และบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง และรัฐภาคี จะต้องมีการรายงานด้านการอนุรักษ์ไปยังศูนย์มรดกโลกทุก ๆ ๖ ปี ทั้งนี้หากคุณค่าที่โดดเด่นดังกล่าวถูกทำลายไปไม่ว่าจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม แหล่งมรดกนั้น ๆ จะถูกขึ้นบัญชีอันตราย (In Danger List) ซึ่งหากรัฐภาคี ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้จะถูกนำชื่อออกหรือถอนออกจากบัญชี มรดกโลกในที่สุด

 

 จนถึงปัจจุบันมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่ ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน ๑,๐๗๓ แหล่ง แบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ๘๓๒ แหล่ง มรดกทางธรรมชาติ ๒๐๖ แหล่ง และเป็นแบบผสมผสาน ๓๕ แหล่ง อยู่ใน ๑๖๗ ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่อยู่ในภาวะ อันตราย ๕๔ แหล่ง แหล่งที่มีการปรับขอบเขตพื้นที่ (Transboundary) ๓๗ แหล่ง และที่ถูกถอดออกจากบัญชีมรดกโลก ๒ แหล่ง ได้แก่ Dresden Elbe Valley ในประเทศเยอรมัน และ Arabian Oryx Sanctuary ในประเทศโอมาน (ข้อมูล ณ เดือน กรกฎาคม 2560)

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีมรดกโลกทั้งหมด 6 แหล่ง โดยแบ่งออกเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง ได้แก่ มรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง คือ • เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร (2534) • นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (2534) • แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง (2535) มรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แห่ง คือ • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง (2534) • ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ (2548) และกลุ่มป่าแก่งกระจาน (2564)

 

- เขตสงวนชีวมณฑล (Man and the Biosphere Reserve)

องค์การยูเนสโก ได้ริเริ่มโครงการมนุษย์และชีวมณฑลตั้งแต่ ปี 1970 (พ.ศ.2513) (โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme – UNEP ก่อตั้งปี 1972) ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกในเรื่อง Conservation and Rational Use of the Resources of the Biosphere เมื่อปี 2511 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริม การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนดำรงรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง จากการประชุมดังกล่าวทำให้มีการจัดตั้งโครงการวิจัยระหว่างประเทศว่าด้วยมนุษย์และชีวมณฑลขึ้น โดยให้มีลักษณะแบบสหสาขา (interdisplinary) และดูแลปัญหาของประเทศกำลังพัฒนา

 

โครงการมนุษย์และชีวมณฑล (Man and Biosphere Programme: MAB) เป็นโครงการระดับนานาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา วิจัย จัดการ ฝึกอบรม รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลให้กับบุคลากรที่มี ความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบริหาร จัดการ และการอนุรักษ์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ การศึกษาระบบนิเวศ การตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์ รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชีวมณฑลนั้น ดังนั้น จึงเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและ การพัฒนาโดยตรง ลักษณะของโครงการเป็นการพัฒนาพื้นฐานของงาน ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ถูกต้องและอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรนั้นๆ และเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ซึ่งต้องมีพื้นที่เป็นเครื่องมือในการวิจัย เครื่องมือดังกล่าว คือแหล่งสงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) เขตสงวนชีวมณฑล คือพื้นที่ระบบนิเวศบนบก และ/หรือชายฝั่ง ทะเล หรือพื้นที่ที่มีระบบนิเวศบนบก และชายฝั่งทะเล/ทะเลที่ได้รับการ ยอมรับในระดับนานาชาติ ภายใต้โปรแกรมมนุษย์และชีวมณฑลของยูเนสโก จนถึงปัจจุบันมีแหล่งสงวนชีวมณฑลที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 669 แหล่ง อยู่ใน 120 ประเทศทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2560)

 

ปัจจุบันประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่เขตสงวนชีวมณฑล ทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่

1) พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช (Sakaerat Biosphere Reserve) จังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เริ่มจากบริเวณพื้นที่ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชในปัจจุบัน ในเวลาต่อมาได้ขยายขอบเขตพื้นที่รอบนอก เพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอวังน้ำเขียว ( ตำบลอุดมทรัพย์ ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลวังหมี ตำบลไทยสามัคคี  และตำบลระเริง) และ 6 ตำบลในอำเภอปักธงชัย (ตำบลภูหลวง ตำบลตะขบ ตำบลตูม ตำบลสุขเกษม) เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมในป่าเขตร้อน และเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้า วิจัยระบบนิเวศเป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง

 

2) พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า (Mae Sa-Kog Ma Biosphere Reserve) จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อุทยานแห่งชาติออบขาน และอุทยานแห่งชาติขุนขาน จังหวัดเชียงใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอำเภอเมือง อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอสะเมิง ประกอบด้วย 2 พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก คือ ลุ่มน้ำแม่สาและลุ่มน้ำห้วยคอกม้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการศึกษาและวิจัยทางด้านลุ่มน้ำธรรมชาติและอุทกวิทยา และเป็นต้นแบบของการจัดการลุ่มน้ำ รวมทั้งเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์

 

3) พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Hauy Tak Teak Biosphere Reserve) จังหวัดลำปาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่ที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่งาว อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นป่าไม้สักธรรมชาติที่เป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนั้น ยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและคุณค่าในฐานะแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อย่างแหล่งภาพเขียนสีประตูผา และแหล่งภาพเขียนโบรณาบ้านห้วยหก

 

4) พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong Biosphere Reserve) จังหวัดระนอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่มีระบบนิเวศแบบป่าชายเลนเป็นจุดเด่น ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนของอำเภอเมืองระนองที่มีคุณค่า ประกอบด้วยป่าชายเลนดั้งเดิมที่ไม่ผ่านการทำไม้ซึ่งคงเหลือไม่กี่แห่งในประเทศไทย โกงกางยักษ์อายุ 200 ปี ป่าชายเลนระนองมีความสำคัญในการรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม ชายฝั่งทะเลเป็นแนวป้องกันลมพายุ และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด เป็นบริเวณที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลนมาเป็นเวลานานจนเป็นแบบอย่างของการค้นคว้าวิจัยให้กับพื้นที่อื่น ๆ

 

5) พื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยเชียงดาว (Doi Chiang Dao Biosphere Reserve) จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 และกำลังเตรียมการเสนอพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว จังหวัดภูเก็ต เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลเป็นแห่งที่ 6 

 

- ความร่วมมือด้านสมุทรศาสตร์ (Intergovernmental Oceanographic Commission: IOC)

องค์การยูเนสโกได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย สมุทรศาสตร์( Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC) ขึ้นเมื่อปี 2503 (ค.ศ.1960) โดยปัจจุบันที่ประเทศต่างๆ เป็นสมาชิกทั้งสิ้น 148 ประเทศ ด้วยมหาสมุทรมีบทบาทสำคัญต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประชาชนหลายพันล้านที่อาศัยอยู่ตาม ชายฝั่ง ยูเนสโกจึงได้จัดตั้งองค์กร IOC ซึ่งเป็นองค์กรโดยตรงด้าน มหาสมุทร มีวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และการจัดการ มหาสมุทร ปัจจุบัน ความต้องการการสนับสนุนจาก UNESCO/IOC ของ ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่กำลังประสบ ปัญหาภัยพิบัติที่เกี่ยวเนื่องทางมหาสมุทร เช่น สึนามิ และพายุโซโคลน มีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความรู้ ความเข้าใจด้านสมุทรศาสตร์

 

ประเทศไทยได้รับประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาบุคลากร แลกเปลี่ยนข้อมูลและการทำวิจัยร่วมกัน เช่น การส่งนักวิชาการไทยเข้ารับ การฝึกอบรมเกี่ยวกับกฎหมายทะเล ด้านการจัดการข้อมูลสมุทรศาสตร์ ด้านการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลและผลกระทบต่อชายฝั่งทะเล ด้าน อนุกรมวิธานของไมโครแพลงค์ตอนพืชที่ก่อให้เกิดอันตราย การฝึกอบรมนักวิชาการที่ปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสมุทรศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการคณะอนุกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลภาคพื้นแปชิฟิกตะวันตก (IOC/WESTPAC) ที่ตั้งอยู่ ณ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนประสานงาน กับองค์กร โครงการต่างๆ ในเรื่องของการศึกษา วิจัย สังเกตการณ์ และ ดำเนินการในด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้กับประเทศสมาชิก

 

- อุทยานธรณี (Geopark)

องค์การยูเนสโกได้ริเริ่มงานโครงการอุทยานธรณีขึ้นเมื่อปี 2544 (ค.ศ.2001) และได้จัดทำเป็นเครือข่ายอุทยานธรณีระดับโลก (Global Geoparks Network – GGN) ในปี 2547 (ค.ศ.2004) เพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือ ระหว่างกัน และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น UNESCO Global Geoparks ในปี 2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งอุทยานธรณี หมายถึง พื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีความสำคัญ อย่างโดดเด่น ด้านธรณีวิทยา และยังรวมถึงคุณค่าด้านโบราณคดี นิเวศวิทยา และ วัฒนธรรม มีเรื่องราวที่เชื่อมโยงคุณค่าของผืนแผ่นดินกับวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยการอนุรักษ์ การถ่ายทอดความรู้ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

จนถึงปัจจุบันมีอุทยานธรณี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การ ยูเนสโกแล้ว จำนวน 140 แหล่ง อยู่ใน 38 ประเทศทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน เมษายน 2561) ซึ่งอุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark) ได้รับการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกครั้งที่ 204 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 เป็นอุทยานธรณีโลก UNESCO Global Geopark แห่งแรกของ ประเทศไทย

 

- โปรแกรมว่าด้วยชีวจริยธรรม (Biothics Programme)

โปรแกรมว่าด้วยชีวจริยศาสตร์ (Bioethics Programme) เป็นงานที่ครอบคลุมเนื้อหาด้านคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพ ส่งเสริมหลักการและบรรทัดฐานทางจริยธรรมอันถือ เป็นแนวทางการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการพัฒนาสังคม เนื่องจากความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิตที่กระทบต่อมนุษย์ การวิจัยด้านเซลล์ต้นตอ พันธุกรรมมนุษย์ การจดสิทธิบัตรพันธุกรรม การปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งมีชีวิตทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม กฎหมายและจริยธรรม โดยยูเนสโกได้ริเริ่ม งานด้านนี้ตั้งแต่ปี 1993 ต่อมาในปี 1997 ได้ให้การรับรองปริญญาสากล ว่าด้วยพันธุกรรมมนุษย์และสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on the Human Genome and Human Rights) สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในด้าน การปกป้องสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การ สหประชาชาติในปี 1998

 

- มรดกความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World)

ความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) คือ มรดก เอกสารที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร (Documentary Heritage) เกี่ยวกับ มรดกวัฒนธรรมแห่งโลก แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของความคิด การค้นพบ และผลงานของสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากสังคมในอดีตให้กับ สังคมปัจจุบันเพื่อที่จะสืบสานให้แก่สังคมในอนาคต โครงการมรดก ความทรงจำแห่งโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์และเผยแพร่มรดก ความทรงจำที่เป็นเอกสาร วัตถุ หรือข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ปัจจุบันยูเนสโกได้จดทะเบียนมรดก ความทรงจำแห่งโลกไว้ทั้งสิ้น 348 ชิ้น (ข้อมูล ณ ปีพ.ศ. 2558) ในส่วน ของประเทศไทย ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งสิ้น 4 ชิ้น ได้แก่ 1) ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 2) เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของรัชกาลที่ 5 3) จารึกวัดโพธิ์ และ 4) บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ 

 

- การเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ (Anniversaries with which UNESCO is associated)

โครงการเฉลิมฉลองวาระครบรอบที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เชื่อมโยงกับงานขององค์การยูเนสโก เป็นโครงการที่องค์การยูเนสโก เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกเสนอชื่อบุคคลหรือผู้มีผลงานดีเด่น และ เหตุการณ์สําคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าทางวัฒนธรรม ช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ของประชาชน และ/หรือ ทําให้เกิดสันติภาพของประเทศหรือของโลก เพื่อให้องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองเป็นประจําทุก 2 ปี โดยยูเนสโกจะนําเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและที่ประชุม สมัยสามัญของยูเนสโกเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด

 

- เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (Creative Cities)

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network – UCCN) ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ /ภูมิภาคหรือ ระหว่างชุมชนท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชน เมือง การยอมรับการเป็นส่วนหนึ่งในสังคม และความเจริญรุ่งเรืองทาง วัฒนธรรม เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีในแต่ละท้องถิ่น/ชุมชน ระหว่างประเทศสมาชิกหรือระหว่างเมือง เครือข่าย Creative Cities ด้วยกัน โดยปัจจุบันมีเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกเป็น สมาชิกเครือข่ายแล้วทั้งสิ้น 180 เมือง ใน 72 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2560) ได้แก่ 1) ด้านวรรณคดี (Literature) 28 เมือง 2) ด้านการออกแบบ (Design) 31 เมือง 3) ภาพยนตร์ (Film) 13 เมือง 4) ดนตรี (Music) 31 เมือง 5) ด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (Crafts and Folk) 37 เมือง 6) มีเดีย อาร์ต (Media arts) 14 เมือง 7) อาหาร (Gastronomy) 26 เมือง

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีเมืองที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ของยูเนสโกแล้ว 2 เมือง เทศบาลนครภูเก็ต เป็นสมาชิก เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (Gastronomy) ในปี2558 และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายทางด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) ในปี 2560

 

- มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage)

อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ คือ ข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐภาคีที่มีจุดประสงค์ที่จะสงวนรักษามรดก วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ทั้งในการให้ความเคารพในมรดกทางวัฒนธรรม ที่จับต้องไม่ได้ของชุมชน กลุ่มชน และปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการ สร้างความตระหนักรับรู้ในระดับต่างๆเพื่อให้เกิดความชื่นชมร่วมกัน รวมไปถึงการให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างประเทศ ซึ่งอนุสัญญานี้เป็นอีกหนึ่งในหลายๆอนุสัญญาที่องค์การยูเนสโกได้ทำขึ้น เพื่อประโยชน์ในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์หรือวัฒนธรรม ระหว่าง ประเทศสมาชิก โดยอนุสัญญาฉบับนี้ได้ผ่านการรับรองจากที่ประชุม สมัยสามัญขององค์การยูเนสโกเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๖ (ค.ศ. ๒๐๐๓) และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๙ (ค.ศ. ๒๐๐๖)

 

สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีให้มีมติได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย การสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้ลงนามในภาคยานุวัตรสาร ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ซึ่งมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยในวันที่ 10 กันยายน 2559 โดยมีกรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

 

องค์การยูเนสโก ได้ริเริ่มโครงการมนุษย์และชีวมณฑลตั้งแต่ ปี 1970 (พ.ศ.2513) (โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme – UNEP ก่อตั้งปี 1972) ซึ่งเป็น ผลมาจากการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกในเรื่อง Conservation and Rational Use of the Resources of the Biosphere เมื่อปี 2511 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริม การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนดำรงรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้อง จากการประชุมดังกล่าวทำให้มีการจัดตั้งโครงการวิจัยระหว่าง ประเทศว่าด้วยมนุษย์และชีวมณฑลขึ้น โดยให้มีลักษณะแบบสหสาขา (interdisplinary) และดูแลปัญหาของประเทศกำลังพัฒนา โ ครงการมนุ ษย ์แ ล ะช ีว ม ณฑ ล (Man and Biosphere Programme: MAB) เป็นโครงการระดับนานาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา วิจัย จัดการ ฝึกอบรม รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลให้กับบุคลากรที่มี ความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบริหาร จัดการ และการอนุรักษ์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ การศึกษาระบบนิเวศ การตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์ รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่