โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(United Nations Environment Programme: UNEP) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ก่อตั้งขึ้นจากมติที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (United Nations Conference on the Human Environment) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน เพื่อติดตามสถานการณ์และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลกให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือประเทศ ในการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีคณะมนตรีประศาสน์การของ UNEP (UNEP Governing Council: UNEP GC) เป็นกลไกในการประชุมของประเทศสมาชิกเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของ UNEP
|
ต่อมาที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Conference on Sustainable Development: UNCSD) ณ กรุงริโอเดอจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) หรือ Rio+20 ได้เห็นชอบให้มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในฐานะที่เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก โดยย่อหน้าที่ 88 ของเอกสาร “The Future We Want” ระบุเสริมสร้างความแข็งแกร่งและยกระดับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติในรูปแบบ ดังต่อไปนี้
|
|
พันธกิจ (Mission) |
UNEP เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมภาวะผู้นำและการผนึกกำลังของพันธมิตรในการดูแลสิ่งแวดล้อม ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพของประเทศและประชาชนในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลูกหลานในภายภาคหน้า “To provide leadership and encourage partnership in caring for the environment by inspiring, informing, and enabling nations and peoples to improve their quality of life without compromising that of future generations.” |
อำนาจหน้าที่ (Authority) |
UNEP มีอำนาจหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการวางยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในทุกระดับทั้งระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก “The leading global environmental authority that sets the Global environmental agenda, promotes the coherent implementation of the environmental dimension of sustainable development within the United Nations system and serves as an authoritative advocate for the global environment.” |
ทิศทางการดำเนินงาน (Work Encompasses) |
ประเมินสถานะและแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับโลกระดับภูมิภาคและระดับประเทศพัฒนาเครื่องมือด้านสิ่งแวดล้อมทั้งระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศและสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเพื่อให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด “Assessing global, regional and national environmental conditions and trends; developing international and national environmental instruments; and strengthening institutions for the wise management of the environment.” |
|
หน่วยงานระดับภูมิภาค (Regional Office) 6 แห่งทั่วโลก ได้แก่
|
UNEP มีกลไกการประสานงานกับประเทศสมาชิกผ่านส่วนงาน (division) สำนักงานระดับภูมิภาค (regional office)ผู้ประสานงาน (liaison) รวมถึงเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศในการทำงานร่วมกับ UNEP โดยส่วนงาน (division) ของ UNEP มีดังนี้
|
ความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) |
โครงการ Integration of Natural Capital Accounting in Public and Private Sector Policy and Decision-making for Sustainable Landscapes (NCA) ภายใต้ GEF-6 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินการที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับ UNEP โดยปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับโครงการฯ (Steering Committee) และประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการฯ เพื่อให้ความเห็นชอบต่อกรอบแนวคิดการจัดทำบัญชีต้นทุนธรรมชาติ (ภาคการท่องเที่ยวและภาคทรัพยากรน้ำ) ของประเทศแล้ว และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคและการขับเคลื่อนการทำบัญชีต้นทุนธรรมชาติโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน NCA ระดับนานาชาติ
โครงการประเมินระบบนิเวศระดับชาติ (National Ecosystem Assessment) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ United Nations Environmental Program - World Conservation Monitoring Center (UNEP - WCMC) ร่วมกันดำเนินการ การประชุมโครงการประเมินระบบนิเวศระดับชาติ (National Ecosystem Assessment) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านระบบทางไกล จัดโดยหน่วยดำเนินการโครงการฯ (สหสาขาวิชาการบริหารกิจการทางทะเล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการฯ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินระบบนิเวศโดยเฉพาะระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีประเด็นสำคัญที่นำเสนอ ดังนี้ 1. สถานภาพ แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่สนับสนุนประโยชน์ของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ 2. ปัจจัยคุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย 3. เศรษฐกิจ สังคมและสวัสดิภาพของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย 4. ความรู้พื้นบ้านและประสบการณ์ท้องถิ่นที่จะสนับสนุนทางเลือกเชิงนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยทางเลือกเชิงนโยบาย ระบบบริหารจัดการและการจัดโครงสร้างองค์กรที่สนับสนุนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย
ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดตั้งกรรมการกำกับโครงการเพื่อให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการฯ และอยู่ระหว่างการยกร่างฯ คำสั่งกรรมการกำกับโครงการฯ
ความร่วมมือ Climate and Clean Air Coalition (CCAC) โครงการ National Action & Planning to reduce Short-Lived Climate Pollutant (SNAP) กรมควบคุมมลพิษร่วมกับ Stockholm Environment Institute (SEI) และ Institute for Global Environmental Strategies (IGES) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมลสาร short-lived climate pollutants (SLCPs) ก๊าซเรือนกระจก และฝุ่นละออง PM2.5 เน้นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และภาคเหนือตอนบน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจํานวน 114,030 ดอลลาร์สหรัฐ และมีระยะเวลาดําเนินโครงการ 1 ปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับแก้รายงานการศึกษาของโครงการ โดยได้รับฟังข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดําเนินการสรุปผลการดําเนินงานโครงการ รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนําผลการดําเนินโครงการขยายผลต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเห็นชอบให้กรมควบคุมมลพิษเข้าร่วมเป็น CCAC Board เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 – เดือนกุมภาพันธ์ 2568
โครงการเครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Acid Deposition Monitoring Network in East Asia: EANET) กิจกรรมการศึกษาวิจัยของ EANET โดยศูนย์เครือข่าย EANET มีการศึกษาเพื่อสังเกตการณ์องค์ประกอบและแหล่งที่มาของ PM2.5 ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ดังนี้ 1. โครงการศึกษามลพิษทางอากาศในเขตเมืองของเอเชีย ดําเนินการโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ คพ.ระหว่างปี 2558 –2560 2. โครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ด้านการจัดการคุณภาพอากาศ (JTCAP) เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กโดยการศึกษาองค์ประกอบและแหล่งกําเนิดของ PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ
|
(ท่านสามารถคลิกดาวน์โหลดข้อมูลได้จากหัวข้อด้านบน)