องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature: WWF)

2131 17 มี.ค. 2566

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature: WWF) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งมีการดำเนินงานในเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก โดยมีเป้าหมายในการหยุดการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและสร้างอนาคตที่มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ด้วยวิถีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการลดมลพิษ

 

WWF มีการดำเนินโครงการเพื่อต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ได้แก่ การศึกษาสำรวจการค้างาช้าง การลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และฟาร์มเพาะพันธุ์สัตว์ป่าผิดกฎหมายที่เป็นแหล่งผลิตของตลาดการค้าสัตว์ป่าบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ รวมถึงเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ไม่ซื้อ ไม่ขายผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าผิดกฎหมาย อาทิ นอแรดในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และกระดูกเสือในสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

เป้าหมายของ WWF ในระดับโลก (Global Goal)

  • ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “By 2030, An equitable and just transition is underway that limits warming to 1.5 C, protects people and nature, and builds a climate-resilient future”
  • ด้านป่าไม้ “ By 2030, we are working to end deforestation, protect and improve the management of the world’s forests, and help restore forest landscapes across the world”
  • ด้านอาหาร “To create sustainable food systems that ensure food security and protect nature, now and in the future”
  • ด้านน้ำสะอาด “To ensure that freshwater ecosystems and their service sustain people and nature”
  • ด้านมหาสมุทร “To ensure the world’s most important fisheries and ocean ecosystems are productive and resilient, and to improve livelihoods and biodiversity”
  • ด้านสัตว์ป่า “By 2030, we want to see 30% of the world’s surface managed in a way that takes account of wildlife through protected areas like national parks or community-run conservation areas”

 

       

 

WWF ประเทศไทยได้ทำงานร่วมกับองค์กรเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อดำเนินโครงการอนุรักษ์ และเร่งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงสัตว์ป่าที่กำลังตกอยู่ในสภาวะอันตรายใกล้สูญพันธุ์ เพื่อคงรักษาความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน อาทิ โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี โครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อการอนุรักษ์โครงการฟื้นระบบอาหารท้องถิ่น ดันตลาดเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรเข้มแข็ง และโครงการทำประมงอย่างยั่งยืน เป็นต้น

 

ความร่วมมือระหว่าง WWF กับประเทศไทยที่ผ่านมา

สัตว์ป่า | WWF

1. งานอนุรักษ์สัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ

WWF ทำงานร่วมกับองค์กรเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ในโครงการอนุรักษ์ และเร่งฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสัตว์ป่าที่กำลังตกอยู่ในสภาวะอันตรายใกล้สูญพันธุ์ เพื่อคงรักษาความอุดมสมบูรณ์นี้ ให้อยู่คู่ผืนแผ่นดินของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 จนถึงปัจจุบัน นักอนุรักษ์ และนักวิชาการจาก WWF ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน บริเวณชายขอบใกล้กับแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าอย่างใกล้ชิด โดยส่งเสริม ให้ชุมชนเกิดความเข้าใจ และมองเห็น "ประโยชน์ร่วม" ระหว่าง คน และ สัตว์ป่า ในขณะที่งานอนุรักษ์ เพื่อคงรักษา รวมถึงฟื้นฟูจำนวนประชากรสัตว์ป่า ถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญ

 

WWF บูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กับการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อให้กิจกรรมอนุรักษ์ที่ถูกออกแบบนั้น เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน ทั้งต่อชีววิทยาของ สัตว์ป่าและพรรณพืช และมนุษย์

 

1.1 โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน

โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง | WWF

การติดตามประชากรเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานคลองลาน ดำเนินการต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการทำงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ในด้านการลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเดินลาดตระเวร รวมไปถึงการให้ ความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า โดยได้จัดการอบรมการลาดตระเวรเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) ให้แก่ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า WWF, WCS และกรมอุทยานฯ ได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างศูนย์อำนวยการกลาง ที่รวบรวมฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลการลาดตระเวนโดยโปรแกรม SMART เพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพการลาดตระเวน รวมไปถึงยกระดับความมือกันระหว่างกลุ่มการอนุรักษ์ และบริเวณใกล้เคียง ทีมปฏิบัติงานมวลชนสัมพันธ์นั้น มุ่งความสนใจ ไปที่การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กนักเรียน และชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับแม่วงก์ - คลองลาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเสือ โดยนักเรียนกว่า 1,000 คน จาก 10 โรงเรียน และชาวบ้านกว่า 3,600 คน จาก 10 หมู่บ้าน โดยทีมงานได้ร่วมกันจัดการโครงการนำร่องการฟื้นฟูเสือและสัตว์ป่าในสี่โรงเรียน โดยมีการสร้าง โป่งดินเทียม เพื่อเพิ่มแหล่งแร่ธาตุให้สำาหรับเหล่าเหยื่อของเสือโคร่ง รวมถึงกวางผา เก้ง และกระทิง อีกกิจกรรม หนึ่งอย่าง “นักสืบสายน้ำ” รวมถึงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ทั้งในป่าและในชุมชน และโดยกิจกรรมนอกห้องเรียน ที่เน้นเรื่องเสือและสัตว์ป่าในระบบนิเวศนั้น ไม่ได้ช่วยแค่สอนนักเรียนให้เข้าใจความสำคัญของธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเพิ่มความตระหนักรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าละแหล่งที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในบ้านเกิดของ พวกเขาอย่างแม่วงก์และคลองลาน ซึ่งได้สร้างความภาคภูมิใจ และการมองเห็นคุณค่าในการมีสัตว์ป่าดังเช่นเสืออยู่ ในบ้านเกิด  

 

1.2 โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี 

โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี | WWF

WWF ประเทศไทย ร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้ร่วมมือกัน เพื่อหาทางออกให้คนและช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจากข้อมูลสถิติในปี 2560 พบว่ามีการพบช้างป่าออกมา ในพื้นที่การเกษตรที่อยู่ตามแนวเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรีด้านทิศตะวันออกเป็นจำนวนครั้งที่บ่อยขึ้น ทั้งตอนบน ตอนกลางและตอนล่างของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีในปี พ.ศ. 2561 โครงการเฝ้าระวังช้างป่า ด้วยระบบเตือนภัย ล่วงหน้า (Kuiburi SMART early warning system) โดยความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับ บมจ. ทรู คอร์เปอเรชั่น มี WWF ประเทศไทย เป็นฝ่ายประสานงานและดำเนินงานติดตามระบบ และ ดูแล Command Center ในการบริหารจัดการระบบร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยได้เริ่มนำระบบมาทดลอง ใช้และนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงระบบการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าในพื้นที่ แม้ว่าจะยังมีช้างป่าออกมาใน พื้นที่การเกษตรของชาวบ้านอยู่บ้าง แต่การมีระบบเตือนภัยล่วงหน้านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ สามารถเข้ามาผลักดันช้างป่า ให้กลับเข้าสู่ป่าได้รวดเร็ว และทันเวลาก่อนเกิดความเสียหายได้มากขึ้น

 

WWF ประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน สนับสนุนความรู้ โดยการจัดอบรมให้ความรู้ ด้านการเก็บข้อมูล (SMART Patrol) รวมถึงมีการอบรมเพิ่มทักษะการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ สนับสนุน อุปกรณ์ ด้านการวิจัยสถานภาพสัตว์ป่าในผืนป่ากุยบุรี รวมถึงงานลาดตระเวนเชิงคุณภาพด้วย สนับสนุนการ จัดการแหล่งอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี สนับสนุนการจัดกิจกรรมให้ ความรู้กับนักเรียนในโรงเรียนในพื้นที่แนวเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี สนับสนุนการอบรมเยาวชน และสมาชิกกลุ่ม ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีที่เป็นชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากช้างป่า เพื่อให้สามารถสร้างอาชีพเสริม เป็นการหารายได้เสริมได้อีกทางหนึ่ง ปัจจุบัน เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ในโครงการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบ เตือนภัยล่วงหน้า เพื่อลดปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า

 

 

1.3 โครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

Copy of The Illegal Wildlife Trade project 16.09.2019 09:32 | WWF

WWF - ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการปิดตลาดการค้า งาช้างในประเทศ ได้ร่วมกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาทางเลือกในการปิดตลาดการค้างาช้าง โดยผลการศึกษาอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ WWF ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมถึงภาคเอกชนในธุรกิจ ท่องเที่ยวเพื่อร่วมกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ซื้อขายงาช้างผิดกฎหมาย

 

นอกจากนี้ WWF - ประเทศไทย, WWF - Myanmar และ WWF - Laos ได้ดำเนินโครงการต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการลดการลักลอบการค้าสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่เป้าหมายของแต่ละประเทศ เน้นการส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัดและระดับระหว่างประเทศ เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการบังคับใช้ กฎหมายระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งพัฒนาความสามารถในการดำเนินคดี สืบสวนสอบสวน การดำเนินการป้องกัน การลักลอบค้าสัตว์ป่าในเขตสามเหลี่ยมทองคำ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

 

2. โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ

WWF ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการทำงานในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่บางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ ภายในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะยังคงความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เป็นแหล่ง ผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ตอบสนองความต้องการในการดำรงชีพได้เหมาะสม รวมทั้งได้รับการบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการจัดการ ทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืนให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจืด

 

3. ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

WWF รณรงค์ให้เมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงริเริ่ม ใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งสนับสนุนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เห็นถึงความสำคัญของการประหยัด พลังงาน เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และ "เปลี่ยน" เมืองให้น่าอยู่ อย่าง "ยั่งยืน" โดย One Planet City Challenge โครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน หรือ One Planet City Challenge ชื่อเดิมคือ โครงการปลุกเมืองให้ โลกเปลี่ยน หรือ Earth Hour City Challenge ได้ดำเนินกิจกรรมทุกสองปีเพื่อผลักดันให้เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกได้ พัฒนาไปสู่เมืองที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิ อากาศ โดย WWF-ประเทศไทยได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบันมีเมืองในประเทศไทยเข้าร่วมโครง การทั้งสิ้น 34 เทศบาล เพื่อให้นำเสนอเป้าหมายและแผนปฏิบัติ การเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาเมืองไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ในการดำเนินงานของ OPCC 2017-2018 ประเทศไทยได้จัดส่งเมืองจำนวน 10 เทศบาล เข้าร่วม แข่งขันกับอีก 132 เมือง จาก 23 ประเทศทั่วโลก ซึ่งก็ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเมือง ในการช่วยลด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสอดรับกับนโยบายของประเทศเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดยเมืองที่ชนะเป็นเมืองที่ได้สร้างความประทับใจให้คณะกรรมการจากความเข้มแข็งของผู้นำในระดับท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาการเดินทางอย่างยั่งยืนของเมืองโดยร่วมกันทุกภาคส่วน ซึ่งเมืองที่ได้รับรางวัลชนะระดับประเทศคือ เทศบาลเมืองยโสธร โครงการนี้ไม่เพียงมุ่งเน้นที่จะเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับเมืองในการลด และปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังมองถึงการแก้ปัญหาในระดับโครงสร้าง พื้นฐานและจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและส่งผลในระยะยาว เช่น การออกนโยบายให้ใช้รถ สาธารณะ เมืองพลังงานสะอาด หรือการออกแบบพื้นที่ในเมืองเพื่อรณรงค์ให้ใช้จักรยานหรือการเดิน รวมไปถึงการ ส่งเสริมความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานระดับท้องถิ่นและประชาชนในการกำหนดนโยบายและทิศทาง เพื่อการพัฒนาเมืองไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่ยั่งยืนต่อไป