MOC between MNRE (Thailand) and MOE (Japan) on Environmental Cooperation

587 14 ธ.ค. 2566

บันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งญี่ปุ่นว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

 

MEMORANDUM OF COOPERATION BETWEEN THE MINISTRY OF NATURAL RESOURCES AND ENVIRONMENT OF THE KINGDOM OF THAILAND AND THE MINISTRY OF THE ENVIRONMENT OF JAPAN ON ENVIRONMENTAL COOPERATION

 


 

ระยะเวลา 

17 พฤษภาคม 2561 (ลงนาม) และสามารถขยายระยะเวลาคราวละ 5 ปี

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายไทย : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ฝ่ายญี่ปุ่น : กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งญี่ปุ่น

 

วัตถุประสงค์

เสริมสร้าง สนับสนุน และพัฒนาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

 

ขอบเขตความร่วมมือ

1. การบรรเทาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. การจัดการของเสีย

3. เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

4. นโยบายและการวางแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองฝ่าย

6. การควบคุมคุณภาพและการป้องกันมลพิษ เช่น มลพิษทางน้ำและอากาศ

7. การจัดการทะเลและชายฝั่ง

8. ข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม

9. สาขาอื่น ๆ ด้านการปกป้องและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการยืนยันจากทั้งสองฝ่าย

 

ประเด็นความร่วมมือที่จะดำเนินการร่วมกัน

1. การจัดการขยะ

2. การควบคุมคุณภาพและการป้องกันมลพิษ เช่น มลพิษทางน้ำและอากาศ

3. การบริหารจัดการพื้นที่อุทยาน

4. เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

5. การจัดการทางทะเลและชายฝั่ง

6. การบรรเทาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

7. การบริหารจัดการพื้นที่ทะเลสาบของญี่ปุ่นกับพื้นที่ท้องถิ่นของประเทศไทย

 

สาระสำคัญการดำเนินงาน

1. ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสโทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

    ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบกรอบความร่วมมือร่วมกันด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับหน่วยงาน อาทิ

1) การจัดการขยะ

2) มลพิษทางอากาศในการแก้ปัญหา PM2.5

3) การบริหารจัดการพื้นที่อุทยาน

4) การสนับสนุนโครงการ Thai Climate Change Adaptation (T-PLAT)

5) การจัดการเมืองอย่างยั่งยืนและความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมกับท้องถิ่นญี่ปุ่น

6) แต่ละฝ่ายสลับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส

2. ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 

    ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและหารือประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้

1) การจัดการคุณภาพอากาศ (PM2.5) โดยทั้งสองฝ่ายร่วมกันดำเนินโครงการ Japan-Thailand Clean Air Partnership: JTCAP

2) Water Environment Partnership in Asia (WEPA)

3) การจัดการขยะพลาสติกในทะเล (Marine Plastic Debris)

4) การจัดการขยะ (Waste Management)

5) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6) ความร่วมมืออื่น ๆ อาทิ การจัดการพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ (Protected Areas Management)

    ความร่วมมือด้านธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Governance) และความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ

 

โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

1. การประชุมหารือเชิงนโยบายระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย - ญี่ปุ่น

2. โครงการ Japan-Thailand Clean Air Partnership (JTCAP) เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยการจัดทำบัญชีการระบายฝุ่นละอองขนาดเล็ก

    และการวิเคราะห์แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และขยายผลไปสู่การแก้ไขปัญหามลพิษในเมืองใหญ่ของประเทศไทยต่อไป

3. Water Environment Partnership in Asia (WEPA) มีการจัดการประชุมนานาชาติทางด้านการจัดการสถานการณ์คุณภาพน้ำของประเทศไทย

    การจัดการน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียอุตสาหกรรมในประเทศไทย กรอบการดำเนินการด้านกฎหมาย และองค์กรสำหรับธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ

    กรอบแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ เป้าหมายและแผนในอนาคตของการดำเนินการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ

4. การจัดการขยะพลาสติกในทะเล Marine Plastic Debris ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถและการสนับสนุนด้านเทคนิค

    ในการตรวจสอบขยะพลาสติกในทะเล รวมถึงการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาวิธีการติดตามขยะพลาสติกในทะเล

    พัฒนาโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการในการร่วมแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

    โดยนำหลักการ 3R มาประยุกต์ใช้กับโครงการดังกล่าว

    โดยมีการดำเนินกิจกรรม อาทิ การจัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศสำคัญ ได้แก่ ปะการัง ชายหาด และป่าชายเลน การศึกษาประเภทและปริมาณขยะ

    พื้นที่ปากแม่น้ำ การศึกษาผลกระทบขยะทะเลต่อระบบนิเวศปะการังและชายหาด การศึกษาผลกระทบขยะทะเลต่อสัตว์ทะเลหายาก

    การศึกษาไมโครพลาสติกในน้ำทะเล

5. โครงการด้านการจัดการขยะ (Waste Management) ร่วมกันดำเนินความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ตามแนวทาง 3R ในการจัดการขยะ

    ในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และญี่ปุ่นยินดีที่จะเผยแพร่เทคโนโลยีการจัดการขยะที่เหมาะสมเพื่อจัดการปัญหาขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

    ในหลาย ๆ แนวทาง โดยมี 2 โครงการ ดังนี้

1) โครงการการพัฒนาระบบฝังกลบขยะมูลฝอยชุมชนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลางและขนาดเล็ก

    (Waste Landfill Planning Assistance for Thailand)

2) โครงการพัฒนาอย่างมีศักยภาพในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ

    (Capacity Development in Effective Waste Management Implementation)

6. โครงการ Thailand Climate Change Adaptation Information Platform (T-Plat) โดยประเทศญี่ปุ่นนำเสนอแพลตฟอร์ม

    ข้อมูลการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย แพลตฟอร์มจะแสดงผลข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน

7. โครงการ The Sister Parks Cooperation Between Thailand - Japan เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์

    ในการจัดการอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง

 

 

 

 

 

เอกสารแนบ

บันทึกความร่วมมือทส
  • ประเภท : .jpg
  • ดาวน์โหลด : 139 ครั้ง
ดาวน์โหลด
ขนาด : 0.35 Mb