บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย
และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือ
ในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
Memorandum of Understanding between the Ministry of Natural Resources and Environment of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Natural Resources and Environment of the Russian Federation on Cooperation in the Sphere of Environment Protection
ระยะเวลา
18 พฤษภาคม 2559 (ลงนาม) - 18 พฤษภาคม 2564 และสามารถขยายระยะเวลาอีก 5 ปี
ขอบเขตความร่วมมือ
1. ศึกษาและดำเนินแผนงานศึกษาและดำเนินแผนงานที่เกี่ยวข้องกับ การปกป้อง การอนุรักษ์ และการฟื้นฟูถิ่นที่อยู่และประชากรสัตว์และพืช
สายพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
2. การสงวนรักษาและการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนและซาญฉลาด เริ่มจากพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ
ตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (อนุสัญญาแรมซาร์) ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 รวมทั้งความเป็นหุ้นส่วนสำหรับการเป็นเส้นทางบินของนกอพยพ
ระหว่างเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย
3. การพัฒนาระบบติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐ การประเมินผลทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
ของประเทศทางตะวันออก ในขอบเขตของการควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม
4. การพัฒนาระบบในพื้นที่คุ้มครองทางธรรมชาติ การจัดการพื้นที่คุ้มครองทางธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติ
และพื้นที่คุ้มครองทางธรรมชาติประเภทอื่น ๆ
5. การปรับปรุงการจัดการป่าไม้ รวมทั้งการคุ้มครอง การสงวนรักษา และการฟื้นฟูป่าไม้
6. การพัฒนาระบบสิ่งแวดล้อมศึกษาและสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม
7. การเสริมสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม ความร่วมมือในขอบเขตของนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม
8. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อการต่อสู้และการปรับตัวต่อผลกระทบเชิงลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
9. ความร่วมมือด้านอื่น ๆ ตามที่คู่ภาคีตกลงร่วมกัน
ประเด็นความร่วมมือที่จะดำเนินการร่วมกัน
1. การจัดการป่าไม้ (การใช้ประโยชน์ การปกป้อง การปลูก และการฟื้นฟูป่า)
2. การจัดการพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
3. การส่งเสริมนโยบายต้านการเติบโตสีเขียว
4. การปกป้องและอนุรักษ์นกอพยพและถิ่นอาศัย
5. การจัดการน้ำผิวดินและใต้ดิน
6. ความร่วมมือระหว่างสวนสัตว์มอสโกและองค์การสวนสัตว์ฯ
สรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน
1. จัดตั้งคณะทำงานฝ่ายไทย
2. จัดประชุมคณะทำงานร่วมไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 27 - 28 มีนาคม 2561 ณ The Berkeley Hotel กรุงเทพมหานคร มีสาระสำคัญ
ดังนี้
2.1 ทั้งสองฝ่ายต้องมอบหมายผู้แทนเป็นประธานคณะทำงานร่วม ซึ่งต้องมีการประชุมคณะทำงานร่วมฯอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามความจำเป็น
โดยสองฝ่ายสลับกันเป็นเจ้าภาพ และประเทศเจ้าภาพจะต้องเป็นผู้ยกร่างกำหนดการและวาระการประชุมส่งให้อีกฝ่ายเห็นชอบล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่า 30 วัน และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดประชุม
2.2 ที่ประชุมไต้เห็นชอบ Terms of Reference of the Thai-Russian Working Group on the implementation of the MOU
เพื่อใช้เป็นกรอบการสรุปสาระสำคัญการดำเนินงาน
2.3 สองฝ่ายได้หารือประเด็นความร่วมมือ ได้แก่ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การปกป้องพื้นที่คุ้มครอง การจัดการทรัพยากรน้ำ
การจัดการปาไม้ และความร่วมมือระหว่างสวนสัตว์มอสโก และองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
2.4 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบการจัดทำ Working Plan 2018 - 2019 โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1) การประสานงานเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือ
2) แลกเปลี่ยนข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
3) แลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติ/พัฒนาข้อเสนอโครงการร่วมกัน/ทัศนศึกษาในประเด็นสำคัญ คือ การจัดการป่าไม้
(การใช้ประโยชน์ การปกป้อง และการฟื้นฟู) การจัดการพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมนโยบาย
ด้านการเติบโตสีเขียว และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปกป้องและอนุรักษ์นกอพยพและถิ่นอาศัย
การจัดการน้ำผิวดินและใต้ดิน และความร่วมมือระหว่างสวนสัตว์มอสโกและองค์การสวนสัตว์
3. การประชุมคณะทำงานร่วมไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน 2562 ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยน
นโยบายการบริหารจัตการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของทั้งสองประเทศรวมถึงประเด็นขยะพลาสติก นอกจากนี้ ได้แลกเปลี่ยนความร่วมมือ
ระดับทวิภาคีด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การปกป้องนกอพยพช่วงฤดูหนาวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำ ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนสัตว์ ณ สวนสัตว์มอสโก เป็นต้น โดยที่ประชุมมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประสานการดำเนินความร่วมมือ
ร่วมกันต่อไป
กิจกรรม/โครงการ
1. การประชุมคณะทำงานร่วมไทย - รัสเซีย ว่าด้วยการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย - รัสเซีย
เมื่อระหว่างวันที่ 12 - 13 กันยายน 2562 ผู้แทน ทส. ได้เข้าร่วมการประชุมฯ ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อเป็นการขับเคลื่อน
และต่อยอดความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) การแลกเปลี่ยนนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) การแลกเปลี่ยนประเด็นขยะพลาสติก
3) ความร่วมมือระดับทวิภาคีด้านการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การปกป้องนกอพยพช่วงฤดูหนาวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการแลกเปลี่ยนสัตว์
2. การปกป้องและอนุรักษ์นกอพยพและถิ่นอาศัย
โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานสนับสนุน
ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับนกอพยพที่มีความสำคัญในพื้นที่บ้านปากทะเล แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี สหพันธรัฐรัสเซียประสงค์ที่จะมีความร่วมมือ
และทำวิจัยด้านนกอพยพร่วมกันกับประเทศไทย และฝ่ายไทยได้ประสานฝ่ายรัสเซียในการดำเนินงานความร่วมมือในรูปแบบ Sister Sites ภายใต้
The East Asian-Australasian Flyway Partnership (EAAFP) ที่ฝ่ายไทยและฝ่ายรัสเซียเข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยความร่วมมือที่คาดว่า
จะดำเนินการร่วมกัน ได้แก่ การศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูล สถานการณ์ และสถานภาพของนกอพยพที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ การแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์และเทคนิคในการศึกษาติดตามนกอพยพ การแลกเปลี่ยนแนวทาง วิธีการ ตลอดจนการศึกษาเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่
ที่เป็นแหล่งอาศัยของนกอพยพอย่างยั่งยืน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และสถานการณ์ของโรคระบาดที่อาจมีนกอพยพเป็นพาหะ
และการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
3. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ฝ่ายรัสเซียจะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทรัพยากรน้ำ และฝ่ายไทยได้นำเสนอแผนแม่บทการบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ซึ่งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำภายในประเทศ ความมั่นคงทางน้ำ การบริหารจัดการภัยพิบัติทางน้ำ
และน้ำท่วม การอนุรักษ์และการบริหารจัดการคุณภาพน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้และดิน และเห็นว่าจะสามารถนำมาใช้เป็นโครงการต้นแบบ รวมทั้งสามารถ
แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำให้แก่ผู้เชี่ยวชาญของสหพันธรัฐรัสเซียต่อไปในอนาคตได้
4. การแลกเปลี่ยนสัตว์
ผู้แทนองค์การสวนสัตว์ได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมไทย-รัสเซีย ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย
และได้เจรจาตกลงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสัตว์และการจัดทำบันทึกข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างองค์การสวนสัตว์และสวนสัตว์มอสโก
ซึ่งทางสวนสัตว์มอสโกมีความต้องการแลกเปลี่ยนสัตว์ คือ ค่างห้าสี กระจงควาย หมีขอ เสือไฟ และนกยูงไทย แต่ปัจจุบันทางสวนสัตว์มอสโก
ยังไม่ได้ส่งรายการสัตว์เกินความต้องการ (surplus wanted list) มายังองค์การสวนสัตว์ จึงยังไม่สามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนสัตว์ได้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานหลัก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานรอง
1. กรมป่าไม้
2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
3. กรมทรัพยากรน้ำ
4. กรมทรัพยากรน้ำบาตาล
5. กรมควบคุมมลพิษ
6. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์
8. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
เอกสารแนบ
- ประเภท : .jpg
- ดาวน์โหลด : 191 ครั้ง