ข้อตกลงว่าด้วยสิ่งแวดล้อมระหว่างราชอาณาจักรไทยและนิวซีแลนด์
ARRANGEMENT ON ENVIRONMENT BETWEEN THE KINGDOM OF THAILAND AND NEW ZEALAND
ระยะเวลา
19 เมษายน พ.ศ. 2548 (ลงนาม) ไม่ระบุวันสิ้นสุด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายไทย : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ฝ่ายนิวซีแลนด์ : กระทรวงสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตความร่วมมือ
1. ร่วมกันเสริมสร้างสัมพันธภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองต่อกันให้เข้มแข็งมากขึ้นตามที่ปรากฎในความตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนเศรษฐกิจ
ที่ใกล้ชิดระหว่างราชอาณาจักรไทยกับนิวซีแลนด์
2. มุ่งมั่นเสริมสร้างซึ่งกันและกันในระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
3. ตระหนักถึงประโยชน์ของนโยบายและการปฏิบัติที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ตลอดจนการยกระดับคุณภาพชีวิต
4. ละทิ้งซึ่งการใช้ประโยชน์จากกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบาย และการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจุดประสงค์ในการกีดกันทางการค้า
5. ยืนยันถึงพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในการประชุมสุดยอดโลก ณ นครริโอ เดอ จาเนโร ในปี พ.ศ. 2535
รวมถึงพันธกรณีที่ทั้งสองประเทศยอมรับภายใต้ข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม
6. เคารพต่อการกำหนดนโบายและมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและการบังคับใช้กฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมของทั้งสองประเทศ
7. รับรู้ถึงข้อได้เปรียบที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน
8. ส่งเสริมนโยบายและการปฏิบัติที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม โดยตั้งอยู่บนหลักการแห่งการหารือและเห็นชอบร่วมกัน
ประเด็นความร่วมมือที่จะดำเนินการร่วมกัน
1. การอนุรักษ์และปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2. การดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน
3. ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อาทิเช่น การจัดการของเสีย การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การจัดการลุ่มน้ำ/ทรัพยากรน้ำ
การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการพื้นที่สงวนและอุทยานแห่งชาติ
การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม และการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
5. การแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม
6. โครงการความร่วมมือต่าง ๆ
7. การศึกษาดูงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ การหารือ และการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
8. กิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจร่วมกัน
9. แต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและจัดการประชุมโดยจะหมุนเวียนกันระหว่างสองประเทศ โดยมีหน้าที่
1) กำหนดแผนการดำเนินงาน ควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของกิจกรรมความร่วมมือ
2) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในสาระสำคัญที่จะเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
3) ทบทวนการปฏิบัติงานและผลที่ได้รับจากการดำเนินงาน
4) ทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับหารือเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
เอกสารแนบ
- ประเภท : .jpg
- ดาวน์โหลด : 188 ครั้ง