“รมว.ทส.” ร่วมหารือ รมว.การต่างประเทศและการค้า ฮังการี สร้างแนวทางความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

215 29 ก.ย. 2565

NEWS : “รมว.ทส.” ร่วมหารือ รมว.การต่างประเทศและการค้า ฮังการี สร้างแนวทางความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันนี้ (29 กันยายน 2565) เวลา 15.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) และ นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมหารือกับนายปีเตอร์ ซีย้าตโต้ (H.E. Mr. Péter Szijjártó) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า

ประเทศฮังการี ณ ห้องรับรอง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร

 

โดย รมว.การต่างประเทศและการค้า ฮังการี ได้กล่าวถึงนโยบายการใช้พลังงานของประเทศฮังการี ที่เน้นการใช้พลังงานจากนิวเคลียร์ และพลังงานแสงอาทิตย์

เป็นหลัก เนื่องจากไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากน้ำได้ ด้วยฮังการีมีแม่น้ำดานูบเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ นอกจากนั้น ยังได้แลกเปลี่ยนถึงนโยบาย

ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าของฮังการี รวมถึงเทคโนโลยีด้านการจัดการน้ำ

ทั้งการหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และการจัดการน้ำเสีย โดยหวังว่าในอนาคตจะได้สร้างความร่วมมือร่วมกันต่อไป

 

ด้าน นายวราวุธ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งมีความพยายามที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และเพิ่ม

การใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากแม้ประเทศไทยจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เป็นอันดับที่ 21 ของโลก แต่อยู่ในลำดับที่ 9 ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกที่มี

การทำความตกลงร่วมกับสมาพันธรัฐสวิส ภายใต้การดำเนินงานตามข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส เพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือโดยสมัครใจสำหรับการถ่ายโอน

ผลการลดก๊าซเรือนกระจก และให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้า หรือ E-Bus ในกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยลดการปล่อย

ก๊าซเรือนกระจก อีกทั้ง ยังได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำโดยเฉพาะ การบริหารจัดการน้ำบาดาล เพื่อให้เป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค

ที่สำคัญของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่วิกฤตขาดแคลนน้ำ

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/134919

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง