“รมว.ทส.” หารือ มูลนิธิ อมตะ และ ICCF จับมือร่วมพัฒนา “เขาใหญ่” สู่อุทยานระดับ World Class

193 23 มี.ค. 2565

NEWS : “รมว.ทส.” หารือ มูลนิธิ อมตะ และ ICCF จับมือร่วมพัฒนา “เขาใหญ่” สู่อุทยานระดับ World Class

วันนี้ (23 มีนาคม 2565) เวลา 09.00 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) หารือร่วมกับ

นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ และผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิ ICCF (International Conservation Caucus Foundation) ถึงการพัฒนาโครงการ

อุทยานพี่อุทยานน้องร่วมแบ่งปันทรัพยากรและองค์ความรู้ หรือ SPARK (Sister Parks Arrangement for Resources and Knowledge Sharing) เพื่อยกระดับ

การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สู่ระดับสากล และเป็นต้นแบบให้กับอุทยานแห่งชาติอื่น ๆ ในประเทศไทย และภูมิภาคต่อไป โดยมี นายรัชฎา สุริยกุล

ณ อยุธยา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมหารือและรับฟังข้อเสนอแนะ ณ ห้องประชุมชั้น 20 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

 

นายวราวุธ ได้กล่าวชื่นชมถึงความร่วมมือของโครงการดังกล่าวว่า การถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ จะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาปรับใช้ให้สอดคล้อง

กับบริบทของประเทศไทย พร้อมทั้งย้ำถึงเจตนารมณ์ของประเทศไทย ที่นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวถ้อยแถลงไว้ในที่ประชุม COP 26 ว่า

ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065

ซึ่งการจะบรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทั้งทางด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศไทย

ซึ่งความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนให้ประเทศไทยไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน

 

โครงการอุทยานพี่อุทยานน้องร่วมแบ่งปันทรัพยากรและองค์ความรู้ (Sister Parks Arrangement for Resources and Knowledge Sharing: SPARK) ระหว่าง

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และ Great Smoky Mountains National Park ที่ผ่านมาคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติจากสหรัฐอเมริกา

มาช่วยศึกษาระบบการบริหารจัดการอุทยาน และกำหนดแนวทางปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่มีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับ Great Smoky

Mountains โดยได้ดำเนินการที่สำคัญ คือ การจัดฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ระบบจัดการน้ำเสีย ระบบการจองที่พัก

ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว การดูแลสัตว์ป่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อพัฒนาชุมชน อาสาสมัคร การพัฒนาเว็ปไซต์ และสิ่งอำนวยความสะดวก

ต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งไทย-สหรัฐอเมริกา ไทย-สวิตเซอร์แลนด์

และไทย-เยอรมัน

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/115240

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง