News : ทส. หารือ EU สร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมทุกมิติ รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00 น. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) มอบหมายให้
นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รอง ปกท.ทส.) เข้าพบหารือกับ Ms. Astrid Schomaker, Director of
International Affairs, Directorate - General for Environment of the European Commission โดยมี ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงาน
นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 205 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยได้มีการหารือร่วมกันถึงการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) เพื่อดำเนินงานตาม Kunming - Montreal
Global Biodiversity Framework โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย 30x30 และการสร้างสมดุลของธรรมชาติและจำนวนสัตว์ป่า นอกจากนี้ ทางสหภาพยุโรป
ยังได้ให้ความสนใจสนับสนุนโครงการ Rice NAMA เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำนาข้าว ลดการใช้น้ำและลดการปล่อยก๊าซมีเทน โดย EU กำลังออก
EU Regulation เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Product) สอดคล้องกับหลักการ Circular Economy ที่ใช้พลังงานในการผลิตต่ำ และการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco - design) เพื่อลดการก่อเกิดของเสียและก๊าซเรือนกระจก โดยอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสินค้า
อาทิ สิ่งทอ (Textile) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic product) วัสดุก่อสร้าง (Construction materials) รวมถึงยังได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมงาน
SIDE EVENT: ASEAN Circular Economy Stakeholder Platform และ EU ยังให้ความสำคัญต่อการลดพลาสติกในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โดยขอให้ประเทศไทย
พิจารณาข้อเสนอโครงการพร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญสหภาพยุโรปมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่อง Extended Product Responsibility ทั้งนี้ แนวนโยบายของสหภาพ
ยุโรปในเรื่อง EU Green Deal มีความคล้ายกับแนวนโยบายของประเทศไทยในเรื่อง Bio Circular Green Economy ที่สามารถหารือแนวทางความร่วมมือร่วมกัน
โดยสหภาพยุโรปให้ความสำคัญในเรื่องความมั่นคงด้านน้ำ ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต และยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กับประเทศไทยในเรื่องการเตือนภัยน้ำท่วมอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ