ทส. จับมือ EU แก้ไขปัญหาโลกร้อน

175 29 ต.ค. 2564

วันที่ 29 ตุลาคม 2564 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้การต้อนรับ​ นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูต

สหภาพยุโรป (EU) ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิก EU จำนวน 17 ประเทศ ในโอกาสเข้าพบหารือแนวทางความร่วมมือ

ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป  พร้อมทั้งนำเสนอเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก​ของ​  EU  ณ ห้องประชุม​ ชั้น​ 20 อาคารกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

 

โดยการหารือดังกล่าว​  ประเทศในสหภาพยุโรปมุ่งหวังให้ประเทศไทยเพิ่มความท้าทายของเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่ง EU

ได้แสดงจุดยืนที่จะสนับสนุนการดำเนินงานกับประเทศไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส อีกทั้ง EU ยังเห็นว่า

นโยบาย EU Green deal มีความสอดคล้องกับนโยบาย BCG  ของไทย จึงเห็นว่าการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันจะเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืน

อาทิ Circular Economy การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการขยะและของเสีย และการจัดการขยะทะเล เป็นต้น ตลอดจนเห็นถึงความสำคัญ

ของไทยในฐานะประเทศที่มีบทบาทนำในอาเซียน 

 

โอกาสนี้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ  ที่ถือเป็นวาระสำคัญของประเทศ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประชาชนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง

โดยประเทศไทยได้ดำเนินการหลายด้าน ทั้งในเรื่องของการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Act) การจัดทำยุทธศาสตร์

ระยะยาวของไทยในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Long term low greenhouse gas emission: LT-LEDS)  ซึ่งถือว่าไทยเป็น 1 ใน 3

ประเทศในภูมิภาคอาเซียน (สิงคโปร์และอินโดนีเซีย) ที่นำส่งยุทธศาสตร์ดังกล่าว 

 

ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางไปเข้าร่วมการประชุม World Leaders Summit ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร

โดยจะแสดงท่าทีและเจตนารมณ์ของไทยที่จะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ

เป็นศูนย์ (Net Zeo GHG Emission) โดยเร็วที่สุดภายในครึ่งศตวรรษนี้  ซึ่งการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของไทยนั้น อยู่บนพื้นฐานของการดำเนินงาน

อย่างแท้จริง เห็นภาพชัดเจนว่าสามารถดำเนินการได้ และจำเป็นที่จะต้องดำเนินการร่วมกับหลายกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน ที่มีนโยบาย 4D 1E

นโยบายการลดและเลิกใช้ fossil fuel กระทรวงคมนาคมที่จะมีการใช้รถ EV 30% ภายในปี ค.ศ. 2030 ตลอดจนร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ

ภาคธุรกิจที่มีการกำหนดเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งหากภาคธุรกิจสามารถดำเนินการได้ ก็จะทำให้เป้าหมายของประเทศบรรลุได้ก่อน

เป้าหมายที่วางไว้ได้ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้เน้นย้ำว่าการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องการการสนันสนุน

จาก EU ด้านเทคโนโลยี การเงิน และเพิ่มขีดความสามารถให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/100461

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง