ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

656 15 พ.ค. 2566

ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง ไทย - ซาอุดีอาระเบีย

 


 

 

1. ร่วมหารือทวิภาคี ไทย - ซาอุดีอาระเบีย เสริมสร้างความร่วมมือไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ร่วมคณะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าฯ หารือ

ทวิภาคีกับมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกพิเศษของการประชุมผู้นำ

เขตเศรษฐกิจเอเปค ปี พ.ศ. 2565 (APEC 2022) เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและเพื่อเสริมสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งยังมีการ

เชื่อมโยงวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Vision 2030) และตะวันออกกลางสีเขียว (Middle East Green Initiative) เข้ากับแนวคิดเศรษฐกิจ BCG Model

ของไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการลงนามแผนงานการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทย

กับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (พ.ศ. 2565 - 2567) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในด้านการจัดการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือการสำรวจทางธรณีวิทยา รวมถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยี

 

  

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/138761

 

2. คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมงาน Future Minerals Forum 2023 และเข้าร่วมการประชุมเสวนาโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี ณ ราชอาณาจักร

ซาอุดีอาระเบีย

งาน Future Minerals Forum 2023 เป็นการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมงานระดับรัฐมนตรีผู้แทนระดับสูงของภาครัฐ นักลงทุน และนักอุตสาหกรรมชั้นนำทั่วโลก

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านเหมืองแร่ การพัฒนาความเป็นศูนย์กลางอุปทานเหมืองแร่และโลหะในภูมิภาคตะวันออกกลาง มีรูปแบบของงาน

ประกอบด้วยการเสวนาโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Roundtable) และผู้แทนระดับสูงองค์การระหว่างประเทศ ในหัวข้อการพัฒนาด้านแร่ การทำเหมืองแร่

และการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ที่ยั่งยืน และการประชุมวิชาการและนิทรรศการแสดงสินค้าจากประเทศและบริษัทชั้นนำทั่วโลกเข้าร่วมงาน การเข้าร่วมงาน

และการประชุมเสวนาโต๊ะกลมในครั้งนี้ เป็นโอกาสอันดีในการเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และจะเป็น

ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยกระดับการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีระดับโลก

ด้านทรัพยากรแร่ และแลกเปลี่ยนความเห็นและองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านทรัพยากรแร่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ

 

 

3. คณะผู้แทนไทย หารือ ซาอุดีอาระเบีย ต่อยอดความร่วมมือด้านการจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม

คณะผู้แทนไทยเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และเกษตร แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นและแนวทางในการดำเนิน

ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของทั้งสองประเทศที่สานต่อจากแผนการขับเคลื่อนและส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย - ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งไทยและซาอุดีอาระเบีย

ได้ลงนามร่วมกันไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ การบริหารจัดการน้ำ การเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และป่าชายเลน ปัญหาภัยแล้ง และดินเสื่อมโทรม โดยได้นำ BCG Model และยุทธศาสตร์ 20 ปี มาใช้ในการ

บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่อง

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย และสำหรับการดำเนินงานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและด้านน้ำร่วมกันนั้น ซาอุดีอาระเบียเสนอให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมและบันทึกความเข้าใจด้านการจัดการ

ทรัพยากรน้ำต่อไป

 

  

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/143379

 

4. คณะผู้แทนไทยร่วมหารือแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อการจัดการแร่อย่างยั่งยืน คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด

คณะผู้แทนไทยเข้าพบหารือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรณี แห่งซาอุดีอาระเบีย จากนั้นร่วมหารือในประเด็นการดำเนินงานด้านการทำ

เหมืองแร่ของซาอุดีอาระเบีย ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีเทคโนโลยีด้านการสกัดทำเหมืองแร่ ซึ่งซาอุดีอาระเบียเห็นว่าประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนเหมืองแร่ในอนาคต

ของซาอุดีอาระเบีย ที่สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีการสำรวจทรัพยากรธรณีและแร่ธาตุร่วมกันได้ นอกจากนี้ ซาอุดีอาระเบีย

ยังสนับสนุนหลักการรีไซเคิลเพื่อลดการใช้ทรัพยากรแร่ธาตุ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความสำคัญต่อการทำ

เหมืองแร่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Mining จึงนับเป็นโอกาสดีที่ทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการใช้

ประโยชน์แร่ธาตุให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถนำแร่ธาตุกลับมาใช้ใหม่ ตลอดจนนำหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended

Producer Responsibility: EPR) มาใช้ในการพัฒนาการทำเหมืองแร่ต่อไป

 

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/143504

 

5. คณะผู้แทนไทยเยี่ยมชมศูนย์ NCVC ซาอุดีอาระเบีย พร้อมเชิญชวนเยือนไทยชมความสมบูรณ์ของป่าชายเลน “พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง”

แลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านป่าไม้

คณะผู้แทนไทยเข้าเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงานของศูนย์ National Center for Vegetation Cover Development & Combating Desertification

(NCVC) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของซาอุดีอาระเบียในการปลูกป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้น ในตะวันออกกลาง รวมถึงการ

ปลูกต้นไม้ 10,000 ล้านต้น ทั่วประเทศซาอุดีอาระเบีย และโครงการปลูกต้นโกงกางกว่า 4 ล้านต้น เพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลของซาอุดีอาระเบีย

โดยบริษัท Saudi Aramco เพื่อให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่จะนำมาซึ่งความมั่นคงทางอาหารในอนาคตอีกทางหนึ่ง และในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยยังได้เชิญชวน

ให้ซาอุดีอาระเบียเดินทางมาเยี่ยมชม “พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง” ของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ได้รับการประกาศ

จากองค์การยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2540 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความร่วมมือ อาทิ ทางด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การกักเก็บคาร์บอนภาคป่าไม้

ตลาดคาร์บอนเครดิต การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการป่าไม้ การค้าไม้เศรษฐกิจ ตลอดจนการจัดการไฟป่า ร่วมกันต่อไปในอนาคต

 

  

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/143505