ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง ไทย - สหรัฐอเมริกา
1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการด้านธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยา (Paleontology and Geology Cooperation)
ระหว่างกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กับ North Carolina State University สหรัฐอเมริกา โดยมีกิจกรรมความร่วมมือในการร่วมกันศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยา
และบรรพชีวินวิทยาเพื่อพัฒนางานวิจัยและบุคลากร โดยมุ่งเน้นด้านการศึกษาวิจัยธรณีวิทยา ตะกอนวิทยา ลำดับชั้นหิน การหาอายุทางธรณีวิทยา การศึกษาวิจัย
ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ รวมถึงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนักวิจัย/นักศึกษาระหว่างหน่วยงานล่าสุดร่วมกันจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Advancing
Paleontological Research and Specimen Conservation in Southeast Asia เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ณ กรุงเทพมหานคร
ที่มา : https://www.dmr.go.th
๒. บันทึกความเข้าใจระหว่างกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสำนักสำรวจทางธรณีวิทยา กระทรวงมหาดไทยแห่งสหรัฐอเมริกา
ระหว่างกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและสำนักสำรวจทางธรณีวิทยา กระทรวงมหาดไทยแห่งสหรัฐอเมริกา โดยมีการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือ อาทิ การแลกเปลี่ยน
ข้อมูลทางเทคนิคและวิชาการ การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม และการศึกษาวิจัยภายใต้ความร่วมมือที่สอดคล้องกับโครงการที่กำลังดำเนินการ เช่น การสำรวจ
ทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ของทรัพยากร การประเมิน ติดตาม และฟื้นฟู คุณภาพน้ำบาดาล และด้านอื่น ๆ ที่สนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดโครงการ
ฝึกอบรมหลักสูตร Groundwater Data Management ผ่านรูปแบบออนไลน์ ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2564 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรม
ทรัพยากรน้ำบาดาลในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลน้ำบาดาลให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับ USGS และสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลในรูปแบบโมเดล
เพื่อสนับสนุนการสำรวจ พัฒนา อนุรักษ์และการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลยังเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก USGS เข้าร่วมเป็นวิทยากร
รับเชิญในการประชุมคู่ขนาน หัวข้อ “Sustainable Groundwater Management towards SDGs” ภายใต้การประชุม THA 2022 International Conference
on Moving Towards Sustainable Water and Climate Change Management after COVID-19 ผ่านรูปแบบออนไลน์ เพื่อเผยแพร่และร่วมแลกเปลี่ยน
องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลแบบบูรณาการ
ที่มา :
https://www.chula.ac.th/news/61210/
3. การประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (TCAC)
โดยผู้แทนฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 และได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดและแสวงหาความร่วมมือเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบาย
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ ฝ่ายสหรัฐอเมริกาพร้อมสนับสนุนประเทศไทยในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศ และการสร้างศักยภาพบุคลากรภายในประเทศในการวิเคราะห์ เพื่อคาดการณ์การลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต
โดยสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนประเทศไทยในเรื่อง ดังนี้
1) การวิเคราะห์แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา
2) เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ มาตรการ
ทางนโยบายและกฎระเบียบ การเงินและการคลัง เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงภาคเอกชนในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว
3) เทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งสินค้าทางเรือ และภาคการเดินอากาศ
4) ความร่วมมือภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงภาคเอกชนของสหรัฐในประเทศไทยในการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5. หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership: MUSP)
เป็นกรอบความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำของลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีสมาชิก จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
ซึ่งดำเนินความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่
1) ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ
2) การบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อม
3) ความมั่นคงรูปแบบใหม่
4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
6. กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity: IPEF)
มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนในการรับมือกับประเด็นท้าทายต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่าน
เศรษฐกิจดิจิทัล และการเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) โดยจะมีความร่วมมือที่เกี่ยวกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การส่งเสริม
ความร่วมมือด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล การอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์ป่า และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการขับเคลื่อนกลไกราคาคาร์บอน
เพื่อส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก
7. โครงการ Reducing Demand for Wildlife (RDW)
โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ร่วมกับ United States Agency for International Development (USAID) ดำเนินการมุ่งเน้นกิจกรรมรณรงค์
ลดความต้องการบริโภคสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า และการรณรงค์แบบสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมและพฤติการ ระยะ 2 ปี สำหรับการลดความต้องการ
บริโภคเนื้อสัตว์ป่าและป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคในประเทศไทย
8. ความร่วมมือทางวิชาการกับองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Environment Protection Agency: U.S. PEA)
โดยกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ร่วมกับองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ดำเนินความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่
1) การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (Environment Protection Unit: EPU)
2) การแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการมลพิษ เช่น ด้านกฎหมาย มาตรฐาน และมาตรการทางเศรษฐศาสตร์
3) การแบ่งปันความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการติดตามตรวจสอบในการบังคับใช้ตามกฎหมายและปัจจัยแห่งความสำเร็จ
(Key of Success)
4) การแลกเปลี่ยนทางด้านเทคนิควิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการมลพิษในการติดตามตรวจสอบในการปฏิบัติตามกฎหมาย