ญี่ปุ่น

737 15 พ.ค. 2566

ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง ไทย - ญี่ปุ่น

 


 

1. กลไกเครดิตร่วม Joint Crediting Mechanism (JCM)

เป็นกลไกแบบทวิภาคีที่ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศที่มีความร่วมมือสามารถใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำในการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจก

โดยการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งกลไก JCM บริหารงานโดยคณะกรรมการร่วม (Joint committee) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจากประเทศญี่ปุ่น

และประเทศที่มีความร่วมมือ การทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต้องมีการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV)

เพื่อให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้มีความน่าเชื่อถือ โดยคณะกรรมการร่วมเป็นผู้ให้การรับรองระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก (methodology)

ซึ่งใช้ในการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ขึ้นทะเบียนและให้การรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการลดได้ หรือที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต ทั้งนี้

ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ที่ผ่านการรับรองแล้วสามารถนำไปใช้ในการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ

ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

ข้อมูลจาก https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-jcm.html

 

 

2. องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)

มีการดำเนินความร่วมมือกับประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ

การพัฒนาความสามารถในการวิจัย อาทิ

1) การออกแบบร่วมที่ก้าวหน้าของกลยุทธ์บูรณาการกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (https://www.jst.go.jp/global/english/kadai/h2702_thailand.html)

2) โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษามลพิษพลาสติกทางทะเลในทะเลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (https://www.jst.go.jp/global/english/kadai/r0101_thailand.html)

ฯลฯ

มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม / การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่

1) โครงการ The Project for Sustainable Management of PM2.5 Prevention and Reduction Measure ในการแก้ปัญหา PM2.5

2) โครงการ The Project for Strengthening Institutional Capacity for the Implementation of Bangkok Master Plan on Climate Change

2013 – 2023 เพื่อสนับสนุนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (http://copjapan.env.go.jp/cop/cop25/assets/pdf/s13-14_JICA/07_07122019_2-3_BMA_Termsiri.pdf)

 

ที่มา : https://www.jica.go.jp/Resource/thailand/english/activities/activity01.html

 

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้การสนับสนุนโครงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพการวิเคราะห์เชิงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Training on Formulating

low GHG Policies based on a quantitative approach) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในเดือนมิถุนายน 2565 

ณ ประเทศไทย

 

3. ญี่ปุ่นสนับสนุนการการจัดทำ Long Term Strategy ของประเทศไทย และ Nationally Determined Contribution (NDC)

โดยดำเนินการผ่าน Asia - Pacific Integrated Model (AIM) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่แสดงและคาดการณ์ภาวะการเป็นสังคมคาร์บอนที่เป็นศูนย์ในอนาคต ซึ่ง AIM

เป็น Model ที่พัฒนาขึ้นโดย National Institute for Environmental Studies, Japan

 

4. ญี่ปุ่นเชิญประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ Partnership to Strengthen Transparency to co-innovation (PasTI)

ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการระดับภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) เพื่อจัดทำ Carbon guidelines

 

5. ความร่วมมือ City-to-City Collaboration Program

เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) อาทิ การดำเนินความร่วมมือระหว่างเมืองโอซาก้ากับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ของประเทศไทย

 

6. ประเทศไทยให้ข้อมูลต่อศูนย์ Regional Knowledge Center for Marine Plastic Debris

ซึ่งดำเนินการโดย Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) ของญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ร่วมกันศึกษา

แลกเปลี่ยนความรู้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการประเมินและติดตามปริมาณขยะทะเลและไมโครพลาสติก รวมถึงร่วมกันสนับสนุนหลักการ 3R และการนำ

เศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ศูนย์ดังกล่าวยังสนับสนุนประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนา

บุคลากรและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาด้านวิชาการในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

 

7. การจัดการมลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

ญี่ปุ่นประสงค์ที่จะผลักดันการศึกษาเพื่อหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขมลพิษสำหรับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้

กรอบความร่วมมือ Acid Deposition Monitoring Network in East Asia (EANET) โดยสนับสนุนให้ประเทศไทยมีบทบาทนำในการดำเนินงานด้านมลพิษ

ทางอากาศ อาทิ ฝุ่นละออง PM2.5 ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และสารอินทรีย์ระเหยง่าย

 

8. โครงการด้านการจัดการคุณภาพอากาศ (Thailand And Japan Clean Air Partnership Project: JTCAP) และ โครงการ Project for

Sustainable Management of Particulate Matter (PM 2.5) Prevention and Reduction Measure

โดยญี่ปุ่นได้สนับสนุนกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำนโยบาย/มาตรการด้านการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจนทำให้เกิด

ชุดข้อมูลองค์ประกอบเคมีของฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งข้อเสนอแนะทางนโยบายในการกำหนดมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง

ขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพฯ