ราชอาณาจักรกัมพูชา

570 15 พ.ค. 2566

ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไทย - กัมพูชา

 


 

1. ความร่วมมือภายใต้กรอบคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - กัมพูชา

มีการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1) การเปิดจุดผ่านแดนและการสัญจรข้ามแดน ช่องสายตะกู จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย - บ้านจุ๊บโกกี จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว

อยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติตาพระยา โดยจะมีการก่อสร้างในพื้นที่เพื่อรองรับการยกระดับจุดผ่อนปรนการค้าเป็นจุดผ่านแดนถาวรช่องสายตะกู

2) การแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูง โดยไทยมีการดำเนินการจัดทำแนวทาง/มาตรการ เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พยูง

รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้พยูงบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว

3) ความร่วมมือด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยฝ่ายไทยสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถในการติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศและเสริมสร้างความร่วมมือ

กับฝ่ายกัมพูชาในเรื่องการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามแดน การจัดการมลพิษทางน้ำ และมลพิษอื่น ๆ

 

ที่มา : https://burapatvonline.com/?p=35063

 

2. ความร่วมมือภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission: JC) ไทย – กัมพูชา 

มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1) ส่งเสริมให้มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรชายแดนไทย-กัมพูชา จำนวน 3 ด่าน ได้แก่ ช่องอานม้า บ้านท่าเส้น และช่องสายตะกู

2) ฝ่ายไทยเห็นชอบในการหาความเป็นไปได้เพื่อจัดหาสถานีเพื่อติดตามคุณภาพอากาศเคลื่อนที่แก่กัมพูชา รวมถึงสร้างขีดความสามารถ

ในด้านการแจ้งเตือนหมอกควันข้ามแดน ด้านการจัดการของเสีย การควบคุมมลพิษทางน้ำ การป้องกันและจัดการมลพิษ

3) ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดการประชุมเชิงวิชาการด้านการจัดการพื้นที่คุ้มครองข้ามพรมแดนภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจัดการ

พื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพข้ามพรมแดน

4) การประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย-กัมพูชา โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) และกัมพูชาขอรับการสนับสนุน โครงการ Strengthening

the capacity of the protected areas management of the protected areas management and protection in Northern Tonle Sap Terrestrial

Protected Areas จากฝ่ายไทย โดยประเทศไทยยินดีสนับสนับสนุนโครงการดังกล่าวที่เสนอโดยราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี

(ค.ศ. 2023 - 2025) มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองให้เป็นแหล่งผลิตอาหารของระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการพื้นที่คุ้มครอง การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อการลาดตระเวน งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพโดยใช้กล้องติดตาม

(camera trap) การแลกเปลี่ยนการเยือนพื้นที่คุ้มครองระหว่างไทย-กัมพูชา การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวังและลาดตระเวน การจัดการพื้นที่คุ้มครอง

และโครงการปลูกป่าบริเวณไทย - กัมพูชา เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มแหล่งผลิตอาหารของระบบนิเวศและถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าได้ในอีกทางหนึ่ง

5) ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะใช้กฎหมายในการจัดการกับปัญหาการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธ

ต่อกลุ่มผู้ลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย รวมถึงขับเคลื่อนการประสานการปฏิบัติผ่านการประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา

และหน่วยงานระดับพื้นที่ เพื่อการป้องกัน ปราบปรามการตัดไม้ การขนส่ง การเก็บรวบรวม และการส่องออกไม้พะยูงของราชอาณาจักรกัมพูชา

กับคณะกรรมการป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูงตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชาของไทย 

 

 

ที่มา : https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/content

 

3. การประชุมคณะผู้ว่าราชการชายแดนไทย-กัมพูชา 

1) การพัฒนาและเปิดจุดผ่านแดนเพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องการค้า การท่องเที่ยวและการขนส่ง ช่องสายตะกู จังหวัดบุรีรัมย์ - จุ๊บโกกี จังหวัดอุดรเมียเจย

โดยบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่มรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่

2) การป้องกันการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับบทลงโทษของการค้าไม้ผิดกฎหมาย

3) การส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ที่รวมถึงการปรับปรุงการจัดการขยะและของเสียบริเวณชายแดนทั้งทางน้ำและทางบก

 

4. ความร่วมมือภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการพื้นที่คุ้มครองและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

ข้ามพรมแดน ระหว่าง ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) โดยสำนักอุทยานแห่งชาติ กับกรมการบริหารการอนุรักษ์และการปกป้องธรรมชาติ ราชอาณาจักรกัมพูชา

มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ PA และ TBL บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน

โดยเมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2565 ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับผู้แทนประเทศ

กัมพูชาผ่านทางออนไลน์ และลงพื้นที่ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ. ศรีสะเกษ เพื่อร่วมกันทำโป่งอาหารสัตว์ป่า และได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

โดยฝ่ายกัมพูชาต้องการเรียนรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีการลาดตระเวนจากประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พื้นที่และการอนุรักษ์ทรัพยากร

ในพื้นที่ รวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชน