ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง ไทย – อินโดนีเซีย
1. ด้านป่าไม้
กรมป่าไม้ (ปม.) มีความร่วมมือความร่วมมือกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ภายใต้โครงการ Facilitating the Participatory Planning of Community-based Forest
Management Using Geographic Information System and Remote Sensing Technologies in Forest Resources Management in the Philippines,
Indonesia and Thailand ในการสนับสนุนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการป่าชุมชนด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และภาพถ่ายระยะไกล
ในประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย
2. ด้านการป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย
โดยทั้งประเทศไทยและอินโดนีเซียต่างสนับสนุนการดำเนินการป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายและการดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาว่าด้วย
การค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยเฉพาะกรณีการส่งคืนลิงอุรังอุตังกลับอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 และ
พ.ศ. 2558
3. ด้านการเสริมสร้างศักยภาพ เรื่อง แนวทางการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยธรรมชาติ (Building with Nature or
Nature-based Approaches: NBS) และการนำแนวคิด NBS มาปรับใช้จริงในประเทศไทย
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยกระทรวงกิจการชายฝั่งและประมงแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นผู้จัดร่วมและผลักดันการดำเนินแนวทาง
ในฐานะประเทศที่ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของกรรมาธิการโลกว่าด้วยการปรับตัว (The Global Commission on Adaptation)
4. ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองอย่างยั่งยืน
ภายใต้แผนปฏิบัติการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองยั่งยืน (AWGESC Action Plan) เกี่ยวกับเมืองยืดหยุ่นและเมืองคาร์บอนต่ำ (Climate Resilient and Low
Carbon Cities) โดยสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนและมีการดำเนินงานที่ดีด้านการบริหารจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วม เพื่อบรรเทาปัญหา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงทำให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือ อาทิ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อประยุกต์ใช้กับการจัดการพื้นที่สีเขียว
ในชุมชนเมือง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านสั่งแวดล้อม การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ การพัฒนาเมืองเพื่อรองรับภัยพิบัติ การส่งเสริม
การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืน
5. ด้านการจัดการปัญหาหมอกควันข้ามแดน
ภายใต้ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution: AATHP)
สาธารณรัฐอินโดนีเซียได้รับการสนับสนุนการแก้ปัญหาจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงประเทศไทย ในการรับมือสถานการณ์ไฟป่าที่เป็นสาเหตุให้เกิด
หมอกควันข้ามแดนซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน