สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

1780 15 พ.ค. 2566

ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง ไทย - ลาว

 


 

1. ด้านทรัพยากรธรณี

กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กับกรมธรณีศาสตร์และแร่ธาตุ สปป. ลาว มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่

1) ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี

2) ร่วมสำรวจและดำเนินงานร่วมกันด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี ตามที่กำหนดร่วมกัน

3) การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กร และถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบุคลากร สปป. ลาว

4) การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน

5) การประชุมหารือความร่วมมือด้านทรัพยากรแร่โพแทช ณ สปป.ลาว เมื่อเดือน ม.ค. 2561

6) การประชุมคณะผู้บริหารไทย - ลาว ณ จังหวัดอุดรธานี เมื่อเดือน ก.ย. 2562

 

2. ด้านทรัพยากรน้ำ

ภายใต้แผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 2561 - 2564 กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.)

และกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความร่วมมือ 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

1) ศูนย์สาธิตแห่งชาติ ในการจัดทำแผนงานหลักของลุ่มน้ำปะไอ

2) การจัดการลุ่มน้ำ

3) การจัดสรรน้ำ

4) การวิจัยและพัฒนาทรัพยากรน้ำ

 

3. ด้านการจัดการอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้าง

สวนรุกขชาติ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช)

และกรมสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีขอบเขตความร่วมมือและกิจกรรม ได้แก่

1) ส่งเสริมความร่วมมือของทั้งสององค์กร

2) แบ่งปันบทเรียนและการปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

3) มุ่งเน้นเป้าหมายของการยกระดับคุณภาพในการดำเนินงานของทั้งสององค์กรโดยการแบ่งปันประสบการณ์ และดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆ

    ซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในหลาย ๆ ระดับเพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของทั้งสององค์กร

4) ปรึกษาหารือในหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกันเพื่อยกระดับความรู้ในการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองและอุทยานแห่งชาติ

 

                      

 

4. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย

และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่

1) ความร่วมมือในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

2) นโยบายและแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3) การป้องกันและควบคุมมลพิษ และการจัดการสารเคมีและของเสียอันตราย

4) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการดำเนินงานภายใต้ความตกลงคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

5) การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6) การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

7) การป้องกันและการแก้ไขข้อขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

8) การเตือนภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ

9) การพัฒนารูปแบบการสำรวจระยะไกล

10) การพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคลในเรื่องการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สังคมและชุมชน

11) ข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

 

5. Plan of Action on Policy and Planning on Natural Resources and Environment, and Environment and Social Impact

Assessment between Department of Natural Resources and Environment Policy (DNEP), Laos PDR, and ONEP

กรมนโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

ลงนามในแผนปฏิบัติการและกรอบแผนงานภายใต้ Plan of Action ดังกล่าว โดยสาระสำคัญ ประกอบด้วย

1) การพัฒนาและดำเนินนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2) เสริมสร้างขีดความสามารถและประสบการณ์ด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการจัดการฐานข้อมูล

3) ติดตามตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมร่วมกันตามที่ระบุในแผนปฏิบัติการฯ

 

6. แผนปฏิบัติการด้านการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม (Plan of Action on Environment and Pollution Management)

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และกรมควบคุมมลพิษ สปป. ลาว ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเสริมและพัฒนา

ความร่วมมือทางวิชาการด้านการควบคุมและจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม และเป็นกรอบในการผลักดันให้เกิดการดำเนินความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย

ซึ่งประกอบด้วยประเด็น ได้แก่ นโยบายและแผน การจัดการ การป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน มลพิษทางน้ำ ขยะมูลฝอย

ของเสียอันตราย สารเคมี การตอบสนองภาวะฉุกเฉิน รวมถึงกฎหมายสิ่งแวดล้อมและการบังคับใช้ โดยมีกิจกรรมความร่วมมือ อาทิ การแลกเปลี่ยนความรู้

ประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญ การประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และการวิจัยต่าง ๆ ด้านการควบคุมและการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม มีระยะการดำเนินการ

5 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565)

นอกจากนี้ ประเทศไทยและ สปป. ลาว มีการดำเนินงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของสองประเทศ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหามลพิษ

จากหมอกควันข้ามแดน รวมถึงการเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน (Joint Plan of Action) ของ 3 ประเทศ

คือ สปป.ลาว เมียนมา และไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (Clear Sky Strategy) โดยประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิชาการในการใช้

เทคโนโลยีดาวเทียมติดตามตรวจวัดจุดความร้อน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเกษตรในพื้นที่สูง การจัดทำ

แผนที่เสี่ยงไฟ การศึกษาเรียนรู้เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันไฟป่า

 

7. โครงการด้านการอนุรักษ์ป่าไม้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้แผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย-ลาว ระยะ 3 ปี

(2563 - 2565)

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดการประชุมพิจารณาโครงการด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ ภายใต้แผนความร่วมมือ

เพื่อการพัฒนาไทย-ลาว ระยะ 3 ปี (2563 - 2565) ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ร่วมกันระหว่างสองประเทศ

รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่าง ทส. กับกระทรวง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป. ลาว ทั้งนี้ กรมป่าไม้ (ปม.) เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด

ในการอนุรักษ์ป่าไม้ โดยกำหนดผลผลิตเป็น 4 ผลผลิต ได้แก่

1) การศึกษาดูงานด้านวนเกษตร

2) การศึกษาดูงานด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ป่า

3) การศึกษาดูงานด้านป่าชุมชนและการป้องกันไฟป่า

4) การทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย/แนวปฏิบัติด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ในลาว

 

8. ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้หารือกับผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สปป. ลาว ในห้วงของการประชุม COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ให้ความสำคัญ

ร่วมกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณภาพอากาศ และหมอกควันข้ามแดน และการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเน้นยกระดับ

การดำเนินงานในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมาย

ที่ประเทศกำหนดไว้ได้ รวมถึงการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไทยและลาวต่างได้รับผลกระทบที่รุนแรงด้านสภาพภูมิอากาศ

เหมือนกัน อาทิ การหนุนสูงของน้ำทะเล และน้ำป่าไหลหลาก เป็นต้น นอกจากนี้ ทางฝ่ายลาวได้แสดงความขอบคุณความร่วมมือจากไทยในการแลกเปลี่ยน

แนวปฏิบัติที่ดีเชิงนโยบายในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งฝ่ายไทยก็ยินดีสนับสนุนและเน้นย้ำว่าการแลกเปลี่ยนเชิงนโยบายร่วมกันจะเป็นประโยชน์

ให้ทั้งสองฝ่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์