สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

722 15 พ.ค. 2566

ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง ไทย - เยอรมนี

 


 

1. ความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและศูนย์นิเวศวิทยาเขตร้อนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Leibniz Centre for Tropical Marine Research (ZMT), Germany) 

โดยมีการดำเนินความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการทางด้านทะเล ได้แก่ การวิจัย การศึกษา การฝึกอบรม ในด้านนิเวศวิทยาทางทะเล

ในเขตร้อน การจัดการชายฝั่ง และด้านสมุทรศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการทำวิจัยร่วมกัน และแลกเปลี่ยนนักวิจัยและนักศึกษา ตลอดจนร่วมกันในการพัฒนา

กิจกรรม/โครงการในด้านต่าง ๆ โดยให้ความสนใจกับการศึกษาวิจัยระยะยาวสำหรับระบบนิเวศชายฝั่งและการจัดการอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวปะการัง

แหล่งหญ้าทะเล ป่าชายเลน และระบบนิเวศอื่น ๆ

 

ที่มา : https://www.dmcr.go.th/detailAll/17126/nws/11

 

ที่มา : https://www.dmcr.go.th/detailAll/22020/nws/257

 

2. ความร่วมมือผ่านโครงการ Climate, Coastal and Marine and Biodiversity in Thailand – CCMB Thailand โดยสำนักงานนโยบายและแผน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

โดย International Climate Initiative (IKI)

โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการพัฒนานโยบายด้านสภาพภูมิอากาศให้เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมุ่งเน้น

ดำเนินการในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความหลากหลายทางชีวภาพ

รวมถึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โครงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ระดับสากล (International Climate Initiative: IKI) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

 

3. ความร่วมมือภายใต้แผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (International Climate Initiative: IKI) ระหว่างสำนักงาน

นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณู และคุ้มครองผู้บริโภค

(The German Federal Ministry for the Environment, Nature Conservation and Nuclear Safety and Consumer Protection: BMUV)

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นหน่วยดำเนินงานหลัก ได้ดำเนินความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยมีความสำเร็จที่สำคัญ ดังนี้

1) โครงการ Programme for the Development and Implementation of a Climate Change Policy in Thailand

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างความตระหนักรู้ การจัดทำนโยบาย และแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2) แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไทย - เยอรมัน (Thai – German Climate Change Policy Programme: TGCP)

เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และมีการพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับและปรับตัวตามแนวทางข้อเสนอ

การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) 

3) โครงการสนับสนุนการจัดทำแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง (Risk – based National Adaptation Plan: Risk – NAP)

เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับชาติและแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แห่งชาติ

4) โครงการ Climate, Coastal, and Marine Biodiversity (CCMB)

เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รวมถึง การขยายขอบเขตการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะ

ความหลากหลายชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง

5) โครงการด้านพลังงานและขนส่ง (Thai-German Cooperation on Energy, Mobility and Climate: TGC-EMC)

6) โครงการรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เมือง (Integrated Urban Climate Action for low-carbon & resilient

cities: Urban-Act)

 

4. งานครบรอบ 10 ปี ความร่วมมือไทย - เยอรมัน การเดินทางรักษ์สิ่งแวดล้อม (10 years : The journey of Thai-German cooperation together for a better climate)

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2562 มีการนำเสนอนิทรรศการ "เส้นทางแห่งความร่วมมือไทย-เยอรมัน" ที่สื่อถึงความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน

และมีการเสวนาในหัวข้อ "เส้นทางของการเปลี่ยนแปลง (Journey of changes)" ณ สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเทศไทยพร้อมเร่งผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ

โดยกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 20  ในปี พ.ศ. 2573 ภายใต้แผนปฏิบัติการการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NDC)

 

ที่มา : https://www.mnre.go.th/th/news/detail/49778

 

5. โครงการด้านน้ำภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai German Climate Programme-water: TGCP-Water)

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานระดับประเทศในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการใช้มาตรการ

การปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงอุทกภัยทั้งในระดับประเทศและระดับลุ่มน้ำ

โดยโครงการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีในระดับชาติและนานาชาติที่เกี่ยวกับการบูรณาการด้านการปรับตัว

ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคส่วนน้ำอย่างเป็นระบบ ซึ่งได้รับสนับสนุนงบประมาณโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัย

ทางปรมาณูและคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV) และมีหน่วยงานร่วมดำเนินงาน ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) กรมชลประทาน (ชป.) กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.) โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่มกราคม 2561 – ธันวาคม 2565

ที่มา : https://www.thai-german-cooperation.info/th/thai-german-climate-programme-water/

 

6. การประชุมหารือ (Steering Committee Meeting: SCM)

ระหว่างผู้แทนไทยกับผู้แทน BMWK และผู้แทน BMUV เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

และความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจุบันมีการหารือล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 ณ เมืองบอนน์ สหพันธรัฐเยอรมนี

 

7. โครงการพัฒนากลไกการเงินเพื่อคงคุณค่าของระบบนิเวศในพื้นที่คุ้มครอง (Enhancing the Economics for Ecosystem Services in South-

East Asia: ECO-BEST)

ซึ่งดำเนินการโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกลไกระดับชาติให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการใช้มาตรการ

เศรษฐศาสตร์และการเงินในการจัดการพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่กันชน ทั้งนี้ โครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 

8. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติความสัมพันธ์ไทย - เยอรมัน ครบรอบ 160 ปี (ผากล้วยไม้-น้ำตกเหวสุวัต)

ดำเนินการโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับมูลนิธิอมตะและสถานเอกอัครราชทูตสหพันธรัฐเยอรมนี ตั้งอยู่ ณ บริเวณลานกิจกรรม

ผากล้วยไม้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยมีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565

 

9. โครงการจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Climate

Programme: Waste) TGCP-Waste

ดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 - ธันวาคม 2565 เพื่อศึกษาและปรับปรุงกรอบนโยบาย มาตรการ และส่งเสริมให้เกิด

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการขยะมูลฝอยและน้ำเสียแบบบูรณาการและเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก