รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และคณะเข้าพบ รมว.ทส. หารือความร่วมมือระหว่างไทยและสาธารณรัฐเยอรมนี

181 3 มี.ค. 2566

News : “วราวุธ” หารือ รมช.ต่างประเทศ เยอรมนี ขยายความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันที่ 3 มีนาคม 2566 เวลา 16.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะ ให้การต้อนรับ

Dr. Tobias Lindner (ดอกเตอร์ โทบีอาส ลินด์เนอร์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และคณะ

ในโอกาสเข้าพบหารือความร่วมมือระหว่างไทยและสาธารณรัฐเยอรมนี ณ ห้องรับรอง ชั้น 20 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยทั้งสองฝ่ายยินดี

กับความร่วมมือไทย - เยอรมัน ในด้านต่าง ๆ ที่มีมาอย่างยาวนานและประสบความสำเร็จด้วยดี โดยเฉพาะการสนับสนุนทางนโยบายและการดำเนินงาน

ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ โครงการ Thai Rice NAMA (Nationally Appropriate Mitigation Action) ซึ่งนอกจากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จากภาคการเกษตรแล้วยังสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรอีกด้วย โดยประเทศไทยได้ดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี

2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในหรือก่อนหน้า ปี 2065 โดยประเทศไทยส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การเพิ่มสถานีชาร์จ การใช้พลังงาน

ไฮโดรเจน โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ และให้ความสำคัญต่อการเพิ่มมูลค่าของคาร์บอนให้มีราคาผ่านกลไกคาร์บอนเครดิต และเห็นว่า การปรับเปลี่ยนแนวคิด

ของประชาชน เป็นสิ่งท้าทายที่จะนำไปสู่การดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ การสนับสนุนทางการเงิน การสร้างขีดความสามารถ และเทคโนโลยีจากประเทศ

พัฒนาแล้ว มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเยอรมันเป็นตัวอย่างของประเทศพัฒนาแล้วที่ได้ลงมือทำตามที่

ได้ประกาศไว้ และแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา

 

นอกจากนี้ ได้มีการหารือถึงแนวทางการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศไทย

เป็นประเทศที่ได้รับการประเมินจาก International Union for Conservation of Nature and Natural Resources (IUCN) ว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพ

ในลำดับต้น และได้เข้าร่วมใน High Ambition Coalition (HAC) ซึ่งมุ่งที่จะดำเนินการเพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่าย

เห็นพ้องต้องกันว่าจะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป และขยายความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศในภาคการจัดการของเสีย เป็นต้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง