การประชุม 4th ASEAN – ROK Dialogue on Environment and Climate Change
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการประชุมหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีในด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงาน (coordinating country) โดย
รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ) ทำหน้าที่ co-chair ร่วมกับผู้แทนสาธารณรัฐเกาหลี (Ms. Gye Yoen Cho, Deputy Director General for Climate Change, Energy, Environment, and Scientific Affairs at the Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Korea) ซึ่ง Ms. Cho กล่าวเน้นถึงผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก
โดยสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนสุดขั้วในเอเชีย ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ อาทิ คลื่นความร้อน น้ำท่วม และไต้ฝุ่น ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ และระบบนิเวศ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสาธารณรัฐเกาหลีจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและสนับสนุนการดำเนินงานเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น
โครงการข้อริเริ่มสำคัญภายใต้ความร่วมมือ ASEAN-ROK ด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอากาศที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่
1) Clean Air for Sustainable ASEAN (CASA);
2) Integrated Municipal Solid Waste Management (IMSWM);
3) Partnership for ASEAN-ROK Methane Action (PARMA);
4) ASEAN-Korea Cooperation for Methane Mitigation;
5) ASEAN-Korea cooperation Programme for carbon neutrality and green transition.
ทั้งนี้ ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานความร่วมมือ ASEAN – ROK ด้านสิ่งแวดล้อมและ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงปีที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
- Pandora Asia Network (PAN) โดย the National Institute of Environmental Research of the ROK ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution Information (PAPGAPi) ในการสนับสนุนข้อมูลด้านมลพิษทางอากาศ อาทิ ตรวจวัดโอโซน
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และมีเทน ปัจจุบันมีจัดตั้งเครือข่าย PAN 28 แห่ง กระจายในหลายเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสาม - สาธารณรัฐเกาหลีอยู่ระหว่างการพัฒนา micro-satellite เพื่อสนับสนุนการตรวจติดตามก๊าซเรือนกระจก (GHG monitoring) ซึ่งคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในช่วงปี ค.ศ. 2027-2028
- การดำเนินงานของ Asian Forest Cooperation Organization (AFoCO) ในการจัดสรรเงินทุนสำหรับโครงการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรของประเทศสมาชิก อาทิ โครงการร่วมกับกรมป่าไม้ ประเทศไทย จัดฝึกอบรมการดับไฟป่า นอกจากนี้ แผนการดำเนินงานของ AFoCO เน้นถึง
การจัดการภูมิทัศน์ป่าไม้อย่างยั่งยืน (sustainable forest landscape) และการเป็นชุมชนที่มั่นคงและทนทานต่อความเสี่ยงจากภูมิอากาศ (climate resilience communities) โดยมุ่งมั่นดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีด้านป่าไม้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมการดำเนินงาน REDD+ ผ่านความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจก การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงคุณภาพอากาศ และการดำรงชีวิตของประชนในชุมชน - ความก้าวหน้าข้อริเริ่มด้านขยะทะเลในทะเลเอเชียตะวันออกผ่านการดำเนินงานของ the Coordinating Body on the Seas of East Asia (COBSEA) โดยสาธารณรัฐเกาหลีแสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนาความร่วมมือพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล อาทิ กระทรวงทะเลและประมง ดำเนินโครงการความร่วมมือลดขยะพลาสติกในทะเลของเอเชีย นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลีมีความร่วมมือร่วมกับ PEMSEA IMO และ FAO จัดทำโครงการที่มุ่งเน้นการดำเนินงานของชุมชนในการตรวจติดตามขยะทะเล พัฒนาแผนระดับประเทศ และการจัดตั้งเครื่องมือสำหรับการจัดการขยะ รวมถึงกิจกรรมสร้างแรงจูงใจ เช่น โครงการ RegLitter เพื่อปรับปรุงการจัดการเครื่องมือประมงและท่าเรือเพื่อลดขยะที่เกิดจากเรือ โดยการสนับสนุนของ IMO และ FAO
- กระทรวงสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและการเจรจาการจัดตั้งสนธิสัญญาพลาสติกโลก (Negotiation of the Global Plastic Treaty) โดยสาธารณรัฐเกาหลีมีความพยายามเพิ่มการแข่งขันด้านคาร์บอน (carbon competitiveness) โดยการเพิ่มปริมาณการใช้วัสดุหมุนเวียนในการผลิตจากร้อยละ 3 ในปี ค.ศ. 2023 เป็นร้อยละ 10 ในปี ค.ศ. 2025 รวมถึงการเพิ่มการมีส่วนร่วม ซึ่งหากประชาชนสามารถลดการปล่อยคาร์บอนจะได้รับแต้มคาร์บอน (carbon point) ที่เปลี่ยนเป็นเงินได้ นอกจากนี้ ยังมีโครงการต่าง ๆ อาทิ เปลี่ยนขยะให้เป็นสินค่าที่มีมูลค่าและหาตลาดรองรับ แยกขยะครัวเรือน และสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มหมุนเวียนทรัพยากรเพื่อสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
- ประธานาธิบดี Yoon Suk Yeol กล่าวในการประชุม UNGA เดือนกันยายน 2566 ว่าสาธารณรัฐเกาหลีจะขยายการสนับสนุนผ่าน Green ODA เพื่อการดำเนินงานด้านพัฒนาที่ยั่งยืนและ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเปลี่ยนผ่านสู่การปลอดคาร์บอน ภายในปี ค.ศ 2025 ผ่านการดำเนินงานโครงการต่างๆ อาทิ การขนส่งสีเขียว (green mobility) การเกษตรและประมงอัจฉริยะ (smart agriculture and fisheries) การอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเล (marine ecosystem protection) และเมืองอัจฉริยะ (smart cities) ปัจจุบันมีการดำเนินโครงการที่สนับสนุนโดย the ROK’s Green ODA ได้แก่ Enhancing Marine Litter Management ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และ Capacity Building Programme for ASEAN Carbon Neutrality ในประเทศไทย - สาธารณรัฐเกาหลีให้การสนับสนุนด้านงบประมาณจำนวน 13.5 ล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐ ให้กับ Global Green Growth Institute (GGGI) เมื่อปี ค.ศ. 2024 ซึ่ง GGGI เป็นสถาบันที่สนับสนุนการพัฒนานโยบายการเติบโตสีเขียวของประเทศสมาชิกอาเซียน อาทิ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สปป.ลาว สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ประเทศไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- การดำเนินงานปัจจุบันของ Green Climate Fund (GCF) โดยสาธารณรัฐเกาหลีในฐานะประเทศเจ้าภาพ (Host Country of the GCF) จะสนับสนุนเงินจำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับ GCF และเมื่อเดือนมิถุนายน 2024 ได้มีการอนุมัติโครงการแล้วกว่า 433 โครงการ คิดเป็นจำนวนเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญ อาทิ การลดก๊าซเรือนกระจก (GHG reduction) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change adaptation) ทั้งนี้ มี 45 โครงการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับประโยชน์ ซึ่งเป็นโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสาธารณรัฐเกาหลีแสดงความสนใจที่จะเพิ่ม
การดำเนินโครงการร่วมกับ AMS ผ่าน GCF - UNFCCC COP 28 ตกลงให้มีการจัดตั้ง Loss and damage fund โดยสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ Host Country of the Board ทั้งนี้ สาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนงบประมาณจำนวน 7 ล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐ เข้ากองทุน loss and damage