การประชุม 3rd ASEAN-U.S. HIGH-LEVEL DIALOGUE ON ENVIRONMENT AND CLIMATE CHANGE
5 7 ม.ค. 2568
การประชุม 3rd ASEAN-U.S. HIGH-LEVEL DIALOGUE ON ENVIRONMENT AND CLIMATE CHANGE
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นการประชุมหารือด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา รวมถึงผู้แทนจากศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและสำนักเลขาธิการอาเซียน ในรูปแบบ Hybrid โดยมี Dr. Monyneath Vann (Undersecretary, Ministry of Environment of Cambodia) และ Mr.Trigg Talley (Senior Advisor to the Special Presidential Envoy for Climate and Director, Climate Negotiations and Programs at the U.S. Department of State, United States of America) ทำหน้าที่ co-chair
Mr. Talley กล่าวถึงการยกระดับความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกาและอาเซียนเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน (comprehensive strategic partnership) เมื่อปี ค.ศ. 2022 และความสำคัญของ ASEAN-U.S. Strategic Plan of Action รวมถึงการจัด ASEAN-U.S. Ministerial Dialogue on Environment and Climate ครั้งที่ 1
เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 ณ สปป.ลาว ซึ่งได้ร่วมกันรับรอง (endorsed) เอกสาร ASEAN-U.S. Climate Work Plan และแถลงการณ์ร่วม (Joint statement) ที่ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดจากปัญหาสภาพภูมิอากาศที่มากขึ้นและความจำเป็นในการเร่งความพยายามการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วน รวมถึงการสร้าง
การปรับตัวและความยืดหยุ่น โดย Mr. Talley ย้ำว่า สหรัฐอเมริกาจะสนับสนุนและต่อยอดความร่วมมือที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประชาคมที่มีความยืดหยุ่นทางสภาพอากาศ และสนับสนุนศูนย์อาเซียนว่าด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Centre for Climate Change : ACCC) ณ เนการาบูรไนดารุสซาลาม รวมถึงความร่วมมือผ่านข้อริเริ่มโครงการต่าง ๆ อาทิ U.S.-ASEAN Alliance for Protected Area Conservation, U.S.-ASEAN Climate Solutions Hub, ASEAN-U.S. Climate Work Plan, ASEAN-USAID Partnership Programme: Addressing Marine Debris และ USAID SERVIR Southeast Asia supporting ASEAN Transboundary Haze Monitoring ผ่านศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติ (Asian Disaster Preparedness Center : ADPC)
โดยสรุปการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- การดำเนินงานของ U.S.-ASEAN Climate Solutions Hub เพื่อสนับสนุนด้านเทคนิคแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนในการเร่งการดำเนินงานตาม Nationally Determined Contributions (NDCs) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความยืดหยุ่น และการพัฒนาแผนระยะยาว ซึ่งสหรัฐอเมริกามีความร่วมมือกับ ASEAN Centre for Energy (ACE) ในการพัฒนาการดำเนินงานพลังงานสะอาด
- โครงการของ the United States Agency for International Development (USAID) ภายใต้ the Regional Development Mission for Asia (RDMA) หรือ USAID RDMA สนับสนุนนโยบายด้านต่างๆ อาทิ ความมั่นคงทางพลังงาน การประมงอย่างยั่งยืน ความยั่งยืนของความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- USAID Southeast Asia Smart Power Program (SPP)
- USAID Sustainable Fish Asia Technical Support initiative
- สนับสนุน ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) เพื่อพัฒนาจัดทำ the ASEAN Environmental Rights Framework
- การดำเนินงานของ U.S. Mission to ASEAN โดยการสนับสนุนโครงการ U.S.-ASEAN Connect Green Economy Series เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและตลาดคาร์บอน
- การดำเนินงานของ U.S. Department of Agriculture (USDA) โดย (1) โครงการ U.S. Forest Service Intern International Programs ส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ความหลากหลาย
ทางชีวภาพระหว่างประเทศ เน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ ดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และ (2) โครงการ Future Forest Economy Project เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่าและสนับสนุน NDCs ด้านป่าไม้ให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน - การดำเนินงาน ของ U.S. Department of the Interior (DOI) ผ่านความร่วมมือ U.S.-ASEAN Alliance for Protected Area Conservation เป็นโครงการระยะเวลา 3 ปี โดยร่วมมือกับศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity : ACB) สนับสนุนความร่วมมือของภูมิภาคในการปรับปรุงการจัดการอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Parks : AHP) โดยการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันองค์ความรู้และเทคนิคต่างๆ