ความก้าวหน้าการดำเนินความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม อาเซียน - สาธารณรัฐเกาหลี
สาธารณรัฐเกาหลีมุ่งมั่นในการสร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือกับอาเซียนในเรื่องการจัดการน้ำ เมืองอัจฉริยะ และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และยืนยันถึงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบัน (สิงหาคม 2566) ประกอบด้วยความร่วมมือ 4 ด้าน ได้แก่
1. ด้านคุณภาพอากาศ: ASEAN-ROK Cooperation on Air Quality มีการจัดตั้งเครือข่ายดาวเทียมสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อม(Environmental satellite observation network) ในการตรวจติดตามชั้นบรรยากาศและสาร(substances) ที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการก่อกวนต่อระบบนิเวศเป็นการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมGeostationary Environment Monitoring Spectrometer (GEMS) ของสาธารณรัฐเกาหลี (lunched เมื่อ พ.ศ. 2563) ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมใช้ข้อมูล และมีการจัดหลักสูตรฝึกอมรม PAPGAPi เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้เครื่องมือและโปรแกรมข้อมูลGEMS และ PANDORAณ สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐเกาหลี (National Institute of Environmental Research: NIER) โดยมีนักวิจัยเข้าร่วมจากประเทศไทย (GISTDA 4 ท่าน) อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
2. ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ: ASEAN-ROK Cooperation on Biodiversityโดยได้ร่วมดำเนินงานและมีพื้นที่วิจัยในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม เมียนมา และฟิลิปปินส์ มีการพัฒนาเรื่องการจดสิทธิบัตร(patent) ในทรัพยากรชีวภาพร่วมกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเครื่องสำอางและยา รวมถึงการจัดฝึกอบรมด้านการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน
3. ด้านการจัดการน้ำ: ROK-MEKONG Cooperation on Water Management สาธารณรัฐเกาหลีจัดการประชุม the 2nd ROK-MEKONG International Water Forum เมื่อวันที่ 7 - 8 กันยายน 2566 (Mekong countries ประกอบด้วย Cambodia, Laos, Myanmar, Thailand, Vietnam)
4. ด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถ: ASEAN-ROK Cooperation on Capacity Building มีหลักสูตรโปรแกรมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย หลักสูตรปริญญาโท Master’s program for Future Global Leaders in Environmental Policy (MGLEP) หลักสูตร International Specialized Course on Environmental Technology (ISCET) และหลักสูตร International Training Course for Environmental Policy (ITCEP)