การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 33 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
(33rd Meeting of the ASEAN Senior Officials on the Environment: 33rd ASOEN)
(33rd Meeting of the ASEAN Senior Officials on the Environment: 33rd ASOEN)
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 33 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง (33rd ASOEN) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 - 7 ตุลาคม 2565 ณ เมืองเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ดร. ซาน อู (Dr. San Oo) รองอธิบดีกรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในฐานะประธานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (ASOEN Chairperson) ทำหน้าที่ประธานการประชุม และ ดร. แวนน์ โมนีเนต (Dr. Vann Monyneath) อธิบดีกรมนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสิ่งแวดล้อม ราชอาณาจักรกัมพูชา ทำหน้าที่รองประธานการประชุม ซึ่งการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่อาวุโส (ระดับปลัดกระทรวง) ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา ได้พิจารณาหารือการกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน ตลอดจนร่วมกันพิจารณาเอกสารสำคัญเพื่อนำเสนอรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยมีสาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. รับรอง (Endorsed) การขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียนแห่งใหม่ (ASEAN Heritage Park: AHP) จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
(1) อุทยานธรรมชาติ Pasonanca สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็น AHP แห่งที่ 52
(2) อุทยานแห่งชาติ Con Dao สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็น AHP แห่งที่ 53
(3) อุทยานธรรมชาติ Mt. Inayawan Range สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็น AHP แห่งที่ 54
(4) อุทยานแห่งชาติ Bach Ma สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็น AHP แห่งที่ 55
2. รับรอง (Endorsed) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับแถลงต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 ณ เมือง ชาร์ม เอล ชีค สาธารณรัฐอียิปต์
3. รับทราบ (Noted) ผลการดำเนินโครงการสำคัญที่ผ่านมา อาทิ การเปิดตัวรายงานสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน (ASEAN State of Climate Chang Report: ASCCR) ความก้าวหน้าของโครงการขยะพลาสติกในทะเล (SEA-MaP) การจัดแพลตฟอร์มสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียน ร่างรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอาเซียน ฉบับที่ 6 (SOER6) (ฉบับสุดท้าย) การพัฒนา ASEAN Environmental Hub และโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ โครงการยกระดับการจัดการขยะชุมชนภูมิภาคอาเซียน (ASEAN-Germany on ASEAN Municipal Solid Waste Management Enhancement: AMUSE) โครงการความร่วมมืออาเซียนกับ The Agence Française de Développement (AFD) แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ด้านคุณภาพอากาศ และโครงการความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ในการจัดการขยะชุมชนแบบบูรณาการ
4. รับทราบ (Noted) กิจกรรมการประชุมสำคัญที่จะจัดขึ้น ได้แก่
(1) อุทยานมรดกอาเซียน ครั้งที่ 7 (AHP 7) ภายใต้หัวข้อ “Healing Nature and People: the Role of AHPs in Ecosystem Protection and Pandemic Recovery” ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2565 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
(2) การประชุมหารือ ASEAN-MRC Water Security Dialogue เดือนสิงหาคม 2566
(3) ASEAN-Finland Circular Economy Forum พ.ศ. 2566 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
(4) Thailand’s ASEAN Carbon Pricing Conference พ.ศ. 2566 ตามที่ประเทศไทยได้เสนอต่อที่ประชุม
5. ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานจัดตั้ง ASEAN Centre for Climate Change (ACCC) โดยบรูไนดารุสซาลามจะเสนอเอกสารข้อตกลงการจัดตั้ง ACCC ฉบับสุดท้าย เพื่อลงนามร่วมกันในเดือนพฤศจิกายน 2565
6. ที่ประชุมรับทราบกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาขอถอนตัวในการเป็นประเทศผู้นำขับเคลื่อนความร่วมมือ Environmental Sound Technologies ภายใต้คณะทำงานอาเซียนด้านการจัดการสารเคมีและของเสีย (AWGCC) และสาธารณรัฐอินโดนีเซียอยู่ระหว่างการหารือกับ SWICH-Asia ในการดำเนินงาน ASEAN SCP Framework
7. ที่ประชุมได้ร่วมกันรับรอง (Endorsed) การแต่งตั้งประธานคณะทำงาน (Chairpersonship) ภายใต้เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (ASOEN) สำหรับดำรงตำแหน่ง 4 ปี ค.ศ. 2022 - 2025 ทั้ง 7 คณะทำงาน ดังนี้