การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 (34th ASOEN) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

510 5 ต.ค. 2566

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
(34th Meeting of the ASEAN Senior Officials on the Environment: 34th ASOEN)

 
            การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 (34th ASOEN) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นเมื่อระหว่างวันที่ 1 - 4 สิงหาคม 2566 ณ เมือง Bogor City สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยการประชุม 34th ASOEN จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 โดยมี Dr. San Oo รองอธิบดีกรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (ASOEN Chairperson) ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีสาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ดังนี้
 
               1. ที่ประชุมรับรอง (Endorsed)
                  1.1 การขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP) ของประเทศไทย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 56 และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นอุทยานแห่งชาติมรดกอาเซียนแห่งที่ 57
                  1.2 ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับแถลงต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
                  1.3 โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหินเข้ารับรางวัล ASEAN Eco-Schools ระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษา และนายมนตรี เจือไธสง เข้ารับรางวัล ASEAN Youth Eco-Champions Award ของประเทศไทย
 
              2. ที่ประชุมรับทราบ (noted)
                  2.1 ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศต้องใช้เวลาในการดำเนินกระบวนการภายในประเทศสำหรับการรับรอง (Endorsement) แผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ASEAN Action Plan for Invasive Alien Species (IAS))
                  2.2 การแจ้งเวียนเอกสารการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Centre for Climate Change: ACCC) เพื่อขอรับการรับรองจากรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม และบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะประเทศเจ้าบ้าน (Host country) ของศูนย์ ACCC กำหนดจัดพิธีลงนามการจัดตั้งศูนย์ ACCC (Signing ceremony) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566
                  2.3 ประเทศไทยเชิญประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม
                        (1) การประชุมหารือ ASEAN Guidelines on Water Resources Conservation ในเดือนกันยายน 2566
                        (2) การประชุม ASEAN Carbon Pricing Conference ระหว่างวันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร
                        (3) การประชุม International Conference on Groundwater Management ในปี พ.ศ. 2567
 
              3. ที่ประชุมเห็นชอบ (agreed) ที่จะพิจารณาการนำประเด็นเรื่อง Intergovernmental Negotiating Committee on Plastic Pollution (INC) processes for global plastic treaty เข้าเป็นวาระหนึ่งในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต
 
              4. ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนคู่เจรจา มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
                  (1) รับทราบ (noted) ร่างเอกสารแนวคิด ASEAN-Japan New Initiative (Strategic Program for ASEAN Climate and Environment (SPACE)) และเห็นชอบ (agreed) ที่จะให้ญี่ปุ่นเพิ่มเติมข้อมูลเอกสารแนวคิดความร่วมมือดังกล่าว และให้เวลาประเทศสมาชิกอาเซียนในการทบทวนและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                  (2) สนับสนุน (supported) ร่างแผนงานอาเซียน-สหรัฐอเมริกาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (draft ASEAN-US Environment and Climate Work Plan) และASEAN-ROK Partnership of ASEAN-ROK for Methane Action (PARMA)
                  (3) รับทราบ (noted) สหภาพยุโรปขอเลื่อนการจัดการประชุม ASEAN-EU Ministerial Dialogue ออกไป โดยจะจัดในรูปแบบการประชุมทางไกล
 
              5. ที่ประชุมรับทราบ (noted) ว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 17 ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนบวกสาม การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน-ญี่ปุ่น และการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 โดยมีเอกสารที่จะให้การรับรอง (endorsement) หรือรับทราบ (notation)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง