17th ASEAN - Japan Dialogue on Environmental Cooperation (17th AJDEC)

415 2 ต.ค. 2566

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม อาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 17
The 17th ASEAN-Japan Dialogue on Environmental Cooperation (17th AJDEC)

 

             การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม อาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 17 (17th ASEAN-Japan Dialogue on Environmental Cooperation: 17th AJDEC) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2566 ณ เมืองโบโกว์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนกับคู่เจรจาญี่ปุ่น (ASEAN-JAPAN Country Coordinator) โดยหัวหน้าคณะผู้แทนไทย นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รอง ปกท.ทส. ทำหน้าที่ประธานร่วม (Co-chair) กับนาย Yoshihiro Mizutani ผู้อำนวยการ International Cooperation for Transition to Decarbonization and Sustainable Infrastructure, Global Environmental Bureau กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น พร้อมประเทศสมาชิกอาเซียนประชุมร่วมกัน ซึ่งที่ประชุมรับทราบการดำเนินงานข้อริเริ่มความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย 3 สาขา ได้แก่
             (1) โครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม
             (2) ความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน
             (3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ซึ่งรวมถึงประเด็นขยะและการรีไซเคิล (Waste and Recycle) เมืองยั่งยืน (Sustainable cities) การบำบัดน้ำเสีย (Wastewater treatment) มลพิษในทะเล (Marine pollution) สารเคมี (Chemical) ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และ Climate Change Action Agenda 2.0 (ประกอบด้วยประเด็นความโปร่งใส (Transparency) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) การปรับตัว (Adaptation) เพื่อมุ่งไปสู่การขจัดคาร์บอน (Decarbonization))
 
ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าของโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้
 
  โครงการที่เสร็จสิ้น (completed) (2 โครงการ)
               1. PASTI PROJECT ON THE DEVELOPMENT AND IMPLEMENTATION OF FACILITY/COMPANY LEVEL MONITORING, REPORTING AND VERIFICATION (MRV) SYSTEMS FOR GHG EMISSIONS IN AMS (PHASE 2)
                    โครงการสิ้นสุดเมื่อไตรมาสแรกของปี 2566 ผลลัพธ์ของโครงการคือ ASEAN Guidelines on Facility-level GHG Measurement and Reporting และ Guidance for Operating Measurement and Reporting of Greenhouse Gas Pilot Project in AMS และจะมีการดำเนิน Pharse 3 ต่อไป โดยสิงคโปร์ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นในการสนับสนุนเรื่อง carbon pricing ในอาเซียน 
                   ทั้งนี้ PASTI Phase 2 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก JAIF วัตถุประสงค์ ได้แก่
                   (1) พัฒนาคู่มือ M&R สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อใช้อ้างอิงในการพัฒนาระบบความโปร่งใสและการมีส่วนรวมของภาครัฐและหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ โดยเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจาก PASTI Phase 1
                   (2) ออกแบบโครงการนำร่องเพื่อนำแนวทาง M&R ไปปฏิบัติ
                   (3) พัฒนาเวทีนำเสนอข้อมูลการปฏิบัติให้เกิดความโปร่งใส
                   (4) กิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับภาคเอกชน 
                2. รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอาเซียน ฉบับที่ 6 (6th ASEAN State of Environment Report: SOER6) by IGES
                   ได้รับการรับรองจาก ASOEN (ad-ref) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 และจะมีการตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป โดยการจัดทำ SOER ของอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งรายงานดังกล่าวประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนหลัก ได้แก่
                   (1) สถานการณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกอาเซียน
                   (2) ข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียนต่อไปข้างหน้าในกระบวนการจัดทำ SOER6 ประเทศไทย โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการจัดทำรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ซึ่งการเข้าร่วมเป็นคณะทำงานจัดทำ SOER6 ของอาเซียน ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และประเมินข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค
 
 โครงการที่กำลังดำเนินงาน (ongoing) (8 โครงการ)
                 1. REGIONAL KNOWLEDGE CENTER FOR MARINE PLASTIC DEBRIS (RKC-MPD)  
                    อยู่ภายใต้ Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) ศูนย์ความรู้ดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2019 สนับสนุนงบประมาณโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม ญี่ปุ่นเป็นศูนย์ที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการต่อสู้ขยะทะเลอาเซียน (ASEAN Regional Action Plan for Combating Marine Plastic Debris in AMS) โดยปัจจุบันมีกิจกรรมเกี่ยวกับพลาสติก อาทิ (1) Regional Global Plastic Outlook in ASEAN Plus three ร่วมกับ IGES และ OECD (2) Pilot Project of Floating and Drifted Marine Plastics in Mangrove ร่วมกับ Japan NUS (JANUS) และ (3) Bioindicator Selection for Marine Litter in the ASEAN Region 
                2. SDGs FRONTRUNNER CITIES PROGRAMME (PHASE 2)  
                   ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น (Japan - ASEAN Integration Fund: JAIF) จำนวน 0.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี และมี IGES เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการระดับภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกทะเลและการเสริมสร้างศักยภาพความยืดหยุ่นของเมืองสนับสนุนการใช้นวัตกรรมจาก bottom-up เพื่อ (1) แก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในทะเลจากแหล่งบนบก และ (2) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในภาคเมือง ระยะเวลาดำเนินโครงการ กันยายน 2021 - สิงหาคม 2023 โดยมี 3 แผนกิจกรรม (1) แลกเปลี่ยนด้านนโยบาย (2) นวัตกรรมภาคเมือง และ (3) เวทีแสดงองค์ความรู้ ตัวอย่างบทเรียน และ การประเมินผล ทั้งนี้ มีการเสนอชื่อเมือง จำนวน 12 เมือง ได้แก่ Kampot, Kep (กัมพูชา) Banda Aceh, Surakarta (Solo) (อินโดนีเซีย) Oudomxay (สปป.ลาว) Seberang Perai, Redang Island (มาเลเชีย) Yangon (เมียนมา) Paranaque (ฟิลิปปินส์) Prik, Saensuk (ประเทศไทย) NinhBinh (เวียดนาม) จะมีการดำเนินโครงการในพื้นที่ระหว่าง กรกฎาคม 2566 - สิงหาคม 2567 โดยมีการจัดประชุม 1st Regional Inception Workshop เมื่อเดือนมกราคม 2566
                3. STRENGTHENING CAPACITY FOR MARINE DEBRIS REDUCTION IN ASEAN REGION THROUGH FORMULATION OF NATIONAL ACTION PLANS FOR ASEAN MEMBER STATES AND INTEGRATED LAND-TO-SEA POLICY APPROACH (PHASE 2)
                    ระยะเวลาดำเนินงาน ธันวาคม 2021 - ธันวาคม 2023 รับงบประมาณสนับสนุนจาก JAIF ประกอบด้วยการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก (1) สร้างแผนปฏิบัติการระดับประเทศ (ประเทศทีต้องการ) (2) สร้างขีดความสามารถในกิจกรรมการจัดการขยะของเสีย และ (3) สร้างขีดความสามารถและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำนโยบาย ซึ่งผลจากการประชุม inception workshop เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ณ พนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้มีการสร้างแผนปฏิบัติระดับชาติร่วมกัน (common NAP) สร้างกลไกประสานความร่วมมือและเวทีระดับประเทศเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ 
               4. CAPACITY DEVELOPMENT FOR ASEAN MEMBER STATES ON IDENTIFICATION AND DIFFERENTIATION OF SPILLED OIL AND TARBALLS
                   เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันเพื่อการสนับสนุนการสืบหาแหล่งที่มาของน้ำมันและก้อนน้ำมัน วัตถุประสงค์เพื่อ (1) อธิบายองค์ประกอบของน้ำมันรั่วไหลในทะเล (2) ส่งเสริมเทคนิคการวิเคราะห์และระบุลายพิมพ์นิ้วมือของน้ำมันรั่วไหล (3) พัฒนาการเก็บข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือน้ำมันเพื่อเปรียบเทียบหาแหล่งที่มา และเมื่อวันที่ 15-19 พฤษภาคม 2566 ได้มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีกรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทยเป็นผู้จัดร่วมกับ International Center for Environmental Technology Transfer (ICETT) 
               5. STRENGTHENING CAPACITY DEVELOPMENT FOR LOCAL GOVERNMENTS IN ASEAN TO TACKLE MARINE PLASTIC DEBRIS POLLUTION THROUGH DECENTRALISED DOMESTIC WASTEWATER MANAGEMENT TOWARD ASEAN RESILIENT AND GREEN CITIES
                  เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคการปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการน้ำเสียจากครัวเรือน โดยใช้หลักกระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น เพื่อก้าวสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับอาเซียนและเมืองสีเขียว ระยะเวลาดำเนินงาน เมษายน 2022 - มีนาคม 2024 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก JAIF โดยการดำเนินงานประกอบด้วย (1) พัฒนาจัดทำคู่มือ“Regional Guidebook on Sustainable Decentralised Domestic Wastewaster” มุ่งสู่ ASEAN Resilient และ Green Cities (2) ให้มีการดำเนินงานการตรวจติดตามไมโครพลาสติกในระบบโรงบำบัดน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำที่สอดคล้องกัน (3) ติดตั้งนวัตกรรมและปรับปรุงให้ระบบบำบัดน้ำเสียที่ทันสมัย ณ Bauang Public Market, La Union (เมืองนำร่องในฟิลิปปินส์) และ (4) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม 
               6. ASEAN-JAPAN ECO-SCHOOL FOR MARINE PLASTIC WASTE EDUCATION (AJC)
                  เมื่อปี 2565 มีนักเรียนเข้าร่วมจำนวนกว่า 10,000 คน จาก 94 โรงเรียน ทั่วทั้ง 8 ประเทศอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น และได้มีการเปิดตัวโครงการ ASEAN-Japan Young Environmental Leaders Network (AJYELN) ซึ่งจะมีกิจกรรมออนไลน์ในงาน 3rd ASEAN-Japan Symposium ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 
               7. TAXONOMIC CAPACITY BUILDING ON DNA BARCODING OF COMMON VASCULAR PLANTS IN THE TROPICS
                  นำเสนอโดย ACB วัตถุประสงค์ (1) ส่งเสริมขีดความสามารถด้านอนุกรมวิธานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับอุทยานมรดกอาเซียน โดยการฝึกอบรบการจัดทำ DNA barcodes โดยใช้คู่มือ GTI-DNA-tech สำหรับพืชที่มีระบบท่อลำเลียงในเขตร้อนชื้น (2) จัดทำหนังสือแนวทางการปฏิบัติภาคสนามและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถด้านอนุกรมวิธานและสร้างความตระหนักด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กิจกรรมที่ผ่านมา อาทิ การจัดทำฐานข้อมูล ASEAN Clearing House Mechanism (ASEAN CHM),  East and Southeast Asia Biodiversity Information Initiative (ESABII), Global Biodiversity Information Facility (GBIF) , Barcode of Life- COBOL database และร่วมสนับสนุน Global Taxonomy Initiative Regional Action Plan 2017-2025 under Goal 1.2 “Addressing taxonomic needs and strengthen capacities at national and regional level based on priority needs assessment 
               8. IMPROVING BIODIVERSITY CONSERVATION OF WETLANDS AND MIGRATORY WATERBIRDS IN THE ASEAN REGION – PHASE 2 (งบประมาณดำเนินงาน 530,932.16 USD)
                 โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของนกน้ำและนกอพยพในภูมิภาคอาเซียน ระยะที่ 2 โดย ACB และสิงคโปร์เป็นประเทศนำ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีการดำเนินงาน ASEAN Flyway Network อย่างต่อเนื่อง (2) เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้จัดการเขต flyway และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและการตรวจติดตามนกน้ำอพยพ ทั้งนี้ โครงการได้รับการรับรองจาก AWGNCB และรับการสนับสนุนจาก AWGCME เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 โดย ASOEN รับรองเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อรับรองของ CPR 
 
 โครงการใหม่/อยู่ใน Pipeline (5 โครงการ)
                1. PASTI PROJECT ON THE DEVELOPMENT AND IMPLEMENTATION OF FACILITY/COMPANY-LEVEL MONITORING, REPORTING AND VERIFICATION (MRV) FRAMEWORK FOR GHG EMISSIONS IN AMS (PHASE 3) PASTI Phase 3
                    ระยะเวลาโครงการ 2 ปี 2566 – 2568 มีวัตถุประสงค์ (1) ให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้นในกระบวนการทำงานของระบบ GHG M&R Framework (2) สนับสนุนให้ภาครัฐเพิ่มแรงจูงใจให้ภาคเอกชนดำเนินงาน GHG M&R และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ (3) จัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถทางเทคนิคให้กับ AWGCC NFPs ทั้งนี้ โครงการได้รับการรับรองจาก AWGCC ในคราวการประชุม 14th AWGCC และ ASOEN รับรองเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 และได้รับการรับรองจาก CPRและญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566
                2. STRATEGIC PROGRAM FOR ASEAN CLIMATE AND ENVIRONMENT (SPACE)
                   เป็นการอัพเกรดข้อริเริ่มที่มีอยู่ ได้แก่ ASEAN-Japan Environmental Initiative (2017) ASEAN Climate Change Action Agenda 2.0 (2021) เพื่อจัดการกับปัญหาวิกฤตการณ์ของโลก ทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยข้อริเริ่ม SPACE ประกอบด้วย (1) ASEAN-Japan Action Agenda on Plastic Pollution (2) ASEAN-Japan Resource Circulation Partnerships on E-Waste and Critical Minerals (3) implementation support for Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework (KMGBF) และ (4) การแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ได้รับรองเอกสาร SPACE เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ สปป.ลาว 
                3. ASEAN CLIMATE CHANGE STRATEGIC ACTION PLAN (ACCSAP) by IGES
                   การจัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีแผนที่จะดำเนินงานในปี 2025-2030 โดยจะนำวัตถุประสงค์และแนวทางที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนมาเพื่อให้บรรลุตาม ASEAN Climate Vision 2050 (to become resilient and net-zero community) ทั้งนี้ ACCSAP ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ AWGCC Action Plan และได้นำกิจกรรมที่มีความสำคัญลำดับต้นใน Mitigation and Adaptation ของ ASEAN Climate Vision 2050 มาประกอบ 
               4. ENVIRONMENTAL TECHNOLOGY VERIFICATION (ETV)
                  มีวัตถุประสงค์ (1) ส่งเสริมแผนงาน ETV ของอาเซียน (2) ให้ข้อมูลด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่เชื่อถือได้ (3) ปรับปรุงด้านธุรกิจการค้าของเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (4) ถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน (5) สร้างความสามารถในการวิจัยและพัฒนาโรงงานผลิตในประเทศอาเซียน ทั้งนี้ ข้อเสนอโครงการอยู่ระหว่างการหารือระหว่างญี่ปุ่น AWGCC และสำนักเลขาธิการอาเซียน 
              5. DEVELOPMENT OF CAPACITY FOR THE SUBSTITUTION AND THE ENVIRONMENTALLY SOUND MANAGEMENT (ESM) OF MERCURY-CONTAINING MEDICAL MEASURING DEVICES (PHASE 2)
                 เพื่อเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการที่จบไปแล้ว (2021-2022) โดย Asian Institute of Technology Regional Resource Centre for Asia and Pacific (AIT RRC.AP) โดยมีอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เป็นประเทศเป้าหมาย ข้อเสนอโครงการประกอบด้วยกิจกรรม (1) การขยายความตระหนักรู้สาธารณะในด้านความเสี่ยงจากการปล่อยสารปรอทจากเครื่องมือทางการแพทย์ (2) แนวทางการจัดการเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีปรอทเป็นส่วนประกอบ (3) การพัฒนาข้อมูลและระบบการควบคุมเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีปรอทเป็นส่วนประกอบทั้งการจัดเก็บชั่วคราว การเตรียมจัดเก็บเพื่อทำลาย การขนส่งเพื่อทำลาย เป็นต้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง