16th ASEAN - Japan Dialogue on Environmental Cooperation (16th AJDEC)

401 2 ต.ค. 2566

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม อาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 16

The 16th ASEAN - Japan Dialogue on Environmental Cooperation (16th AJDEC)

 

              การประชุม 16th AJDEC เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ประเทศไทย โดยรอง ปกท.ทส. นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ ทำหน้าที่ประธานร่วม (co-chair) ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น โดย Ms. Junko Nishikawa Director for Sustainable Infrastructure, Office of Director for International Cooperation for Transition to Decarbonization and Sustainable Infrastructure, Ministry of Environment, Japan ได้รับทราบการดำเนินงานภายใต้ ASEAN - Japan Environmental Cooperation Initiative ใน 3 สาขา ได้แก่
               1) โครงสร้างพื้นฐาน
               2) ความร่วมมือ SDGs
               3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยแบ่งเป็นการดำเนินงานในสาขาย่อยต่าง ๆ ได้แก่
               (1) ขยะและการรีไซเคิล
               (2) เมืองยั่งยืน
               (3) การบำบัดน้ำเสีย
               (4) มลพิษทางทะเล
               (5) สารเคมี
               (6) ความหลากหลายทางชีวภาพ 
               (7) การดำเนินงาน Climate Change Action Agenda 2.0

ซึ่งการดำเนินทั้งหมดอยู่ภายใต้หลักการ ความโปร่งใส (transparency) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation) และการปรับตัว (Adaptation)

 

        
                        

 

  โครงการที่สิ้นสุดแล้ว (completed projects)

            1. Development of capacity for the substitution and the environmentally sound management (ESM) of mercury-containing medical measuring devices (RRC.AP AIT)

            2. ASEAN state of Climate Change Report (ASCCR) (IGES) (Japan-ASEAN Integration Fund: JAIF)

            3. ASEAN-Japan Eco-School for Marine Plastic Waste Education (ASEAN-Japan centre: AJC)

 

  โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน (ongoing projects)

             1. Regional Knowledge center for marine plastic debris (RKC-MPD) (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia: ERIA) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2562 สนับสนุนงบประมาณโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม ญี่ปุ่น เป็นศูนย์ที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการต่อสู้ขยะทะเลอาเซียน (ASEAN Regional Action Plan for Combating Marine Plastic Debris in AMS) โดยที่ผ่านมามีการดำเนินงานต่าง ๆ อาทิ การประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านขยะพลาสติกในทะเล เพื่อหารือถึงตัวชี้วัดการตรวจติดตามขยะพลาสติก การฟื้นฟูสีเขียว จัดทำรายนามผู้เชี่ยวชาญ และการสำรวจและโครงการนำร่องด้านพฤติกรรม

             2. SDGs Frontrunner cities programme (Phase2) (SDGs-FC2) (IGES) สนับสนุนการใช้นวัตกรรมจาก bottom-up เพื่อ 1) แก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในทะเลจากแหล่งบนบกและ 2) การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในภาคเมือง ระยะเวลาดำเนินโครงการ กันยายน 2564 - สิงหาคม 2566 โดยมีแผนกิจกรรม อาทิ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนโยบาย นวัตกรรมของภาคเมือง และเวทีแสดงองค์ความรู้ ตัวอย่างบทเรียน และ การประเมินผล ทั้งนี้ กัมพูชาได้เสนอชื่อเมืองเข้าร่วมแล้ว อินโดนีเซียและไทยอยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอชื่อ โดยมีการจัดประชุม 1st Regional Inception Workshop เมือเดือนมกราคม 2566

             3. Strengthening Capacity for Marine Debris deduction in ASEAN region through formulation of national action plans for ASEAN Member States and Integrated Land-to-SEA Policy Approach (Phase 2) (IGES/IDEA) ระยะเวลาดำเนินงาน ธันวาคม 2564 - ธันวาคม 2566 รับงบประมาณสนับสนุนจาก JAIF ประกอบด้วยการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก 1) สร้างแผนปฏิบัติการระดับประเทศ (ประเทศทีต้องการ) 2) สร้างขีดความสามารถในกิจกรรมการจัดการขยะของเสีย และ 3) สร้างขีดความสามารถและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำนโยบาย

            4. Strengthening capacity development for local governments in ASEAN to tackle marine plastic debris pollution through decentralizes domestic wastewater management toward ASEAN resilient and Green cities (IGES) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคการปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการน้ำเสียจากครัวเรือน โดยใช้หลักกระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น เพื่อก้าวสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับอาเซียนและเมืองสีเขียว ระยะเวลาดำเนินงาน เมษายน 2565 - มีนาคม 2567 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก JAIF โดยการดำเนินงานประกอบด้วย 1) ส่งเสริมการดำเนินงานตาม SDG6 water and sanitation 2) สนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคนิคและฝึกอบรบให้กับภาคการปกครองท้องถิ่นเพื่อการวางแผนและควบคุมน้ำเสียครัวเรือนที่ดีขึ้น 3) ดำเนินการเมืองนำร่อง “SDG6 Model City” ในฟิลิปปินส์ 4) จัดประชุมหารือเชิงวิทยาศาสตร์-นโยบายของภูมิภาค ในการนำข้อแนะนำจาก “Regional Guidebook on Sustainable Decentralised Domestic Wastewater” ไปสู่การปฏิบัติ

           5. Capacity development for ASEAN member states on identification and differentiation of spilled oil and tarballs โดยประเทศไทยร่วมกับ International centre for Environmental Technology Transfer (ICETT) ขยายระยะเวลาโครงการจนถึงเมษายน 2566 เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันเพื่อการสนับสนุนการสืบหาแหล่งที่มาของน้ำมันและก้อนน้ำมัน วัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายองค์ประกอบของน้ำมันรั่วไหลในทะเล 2) ส่งเสริมเทคนิคการวิเคราะห์และระบุลายพิมพ์นิ้วมือของน้ำมันรั่วไหล 3)พัฒนาการเก็บข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมือน้ำมันเพื่อเปรียบเทียบหาแหล่งที่มา ทั้งนี้ อินโดนีเชียแสดงความสนใจให้มีความร่วมมือในขั้นต่อไปโดยเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถ

          6. PASTI Project – Development and Implementation of faculty/company level monitoring, reporting and verification (MRV) system for Greenhouse gas (GHG) emissions in ASEAN member states Phase2 (OECC) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก JAIF โดยสิงคโปร์นำเสนอ วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) พัฒนาคู่มือ M&R สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อใช้อ้างอิงในการพัฒนาระบบความโปร่งใสและการมีส่วนรวมของภาครัฐและหน่วยงานที่ไม่ใช่ภาครัฐ โดยเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจาก PASTI Phase 1 2) ออกแบบโครงการนำร่องเพื่อนำแนวทาง M&R ไปปฏิบัติ 3) พัฒนาเวทีนำเสนอข้อมูลการปฏิบัติให้เกิดความโปร่งใส  4) กิจกรรมเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับภาคเอกชน ทั้งนี้ PASTI Phase 3 จะเริ่มต้นในปี 2566 มีวัตถุประสงค์ 1) ให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้นในกระบวนการทำงานของระบบ GHG M&R 2) สนับสนุนให้ภาครัฐเพิ่มแรงจูงใจให้ภาคเอกชนดำเนินงาน GHG M&R และการลดการปล่อยก๊าซ

           7. 6th ASEAN State of Environment Report (SOER6) by IGES ปัจจุบัน (เดือนมิถุนายน 2566) อยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอ ASOEN เพื่อรับรองฉบับร่างที่ 7

           8. Taxonomy capacity building on DNA barcode of common vascular plants in the tropics นำเสนอโดย ACB วัตถุประสงค์ 1) ส่งเสริมขีดความสามารถด้านอนุกรมวิธานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของอุทยานมรดกอาเซียน โดยการฝึกอบรบการจัดทำ DNA barcodes โดยใช้คู่มือ GTI-DNA-tech สำหรับพืชที่มีระบบท่อลำเลียงในเขตร้อนชื้น 2) จัดทำหนังสือแนวทางการปฏิบัติภาคสนามและหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถด้านอนุกรมวิธานและสร้างความตระหนักด้านความหลากหลายทางชีวภาพ กิจกรรมที่ผ่านมามีการจัดอบรมการเขียนหนังสือแนวทางปฏิบัติและประชุมปฏิบัติการ ในประเทศฟิลิปปินส์ โครงการขยายเวลาจนถึง 31 ธันวาคม 2565

 

  โครงการ pipeline

            1. Improving biodiversity conservation of wetlands and migratory water-birds in the ASEAN region – Phase 2 นำเสนอโดย ACB และสิงคโปร์เป็นประเทศนำ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ให้มีการดำเนินงาน ASEAN Flyway Network อย่างต่อเนื่อง 2) ปรับปรุงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและนกน้ำอพยพ 3) การดำเนินงานการจัดการเขต fly ways งบประมาณดำเนินงาน 530,932.16 USD

            2. ASEAN Climate Change Strategic Action Plan (ACCSAP) by IGES ระยะเวลาโครงการ ค.ศ. 2023-2030 เพื่อเป็นแนวทางการเข้ามีส่วนร่วมและการปฏิบัติของหลายภาคส่วนเพื่อบรรลุตามเป้าหมาย ASEAN Climate Vision 2050(to become resilient and net-zero community) ทั้งนี้ ACCSAP ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ AWGCC Action Plan และได้นำกิจกรรมที่มีความสำคัญลำดับต้นใน ASEAN Climate Vision 2050 มาประกอบ

 

  การประชุมสำคัญที่เกี่ยวข้อง

           การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 25 (the 25th ASEAN-Japan summit) เดือนพฤศจิกายน 2565 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่องสังคมและวัฒนธรรม โดยสนับสนุนส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา การบริหารจัดการสังคมสูงวัย สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานสะอาด เมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาที่ยั่งยืนนอกจากนี้ ญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างจริงจังเรื่องการสถาปนาความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบครอบคลุมรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership: CSP)

 

  การดำเนินงานในอนาคต

           1. กำหนดการประชุม 2nd ASEAN-Japan Ministerial Dialogue on Environmental Cooperation (AJMDEC) แบบ back-to-back กับการประชุม 17th AMME ณ สปป.ลาว เดือนสิงหาคม 2566

           2. การจัด ASEAN-Japan Environmental Week โดยปี พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น 50 ปี และเน้นเรื่องการส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาครัฐร่วมมือกัน (public and private partnership) ในการสร้างวิธีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม (co-create environmental solutions) โดยตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน

           3. การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ฯ ที่กรุงโตเกียว ในปี 2566