ความร่วมมืออาเซียน - สหภาพยุโรป (ASEAN - EU)

1183 15 มิ.ย. 2566

ความร่วมมืออาเซียน - สหภาพยุโรป
  ASEAN - EU  


-    ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ    -

 

 

          การดำเนินงานภายใต้กรอบ ความร่วมมือ EU-ASEAN Dialogue on Climate Action ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป โดยประเทศไทยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และความตกลงปารีส รวมถึงสนับสนุนนโยบายเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงขีดความสามารถและสถานการณ์ที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ โดยไม่นำมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้าหรือก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

 

            

 

          การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน – สหภาพยุโรป (ASEAN - EU) ครั้งที่ 4 (The 4th ASEAN-EU High-Level Dialogue on Environment and Climate Change) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินโครงการต่าง ๆ และหารือแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรป โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่
         (1) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ขยะทะเล และการจัดการขยะและสารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีความสนใจร่วมกันที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูระบบนิเวศ การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้แสดงความชื่นชมสหภาพยุโรปให้การสนับสนุนการดำเนินงานของอาเซียน ภายใต้ศูนย์อาเซียนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity) และศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืน (ASEAN Centre for Sustainable Development Studies and Dialogue: ACSDSD)
         (2) ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้หารือถึงการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตาม Nationally Determined Contribution (NDCs) ของแต่ละประเทศ เพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนาแบบมีภูมิคุ้มกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาศ (Climate-resilient development) โดยสหภาพยุโรปแสดงความสนับสนุนต่อข้อริเริ่ม ASEAN Green Deal ที่เสนอโดยราชอาณาจักรกัมพูชา

 

      

 

           การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 (ASEAN-EU Commemorative Summit) ในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 45 ปี ระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ณ กรุงบรัสเซลล์ ราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นการพบปะหารือผู้นำอาเซียนกับผู้บริหารและผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ทั้ง 27 ประเทศ รวมถึงการประชุมโต๊ะกลมผู้บริหารระดับสูงในช่วงอาหารกลางวัน (C-Suite Roundtable Luncheon) ร่วมกับภาคเอกชนอียู ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาธุรกิจอาเซียน-อียู (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC) โดยนายกรัฐมนตรีของไทยเข้าร่วมทั้งสองการประชุม และกระทรวงการต่างประเทศจัดทำสรุปผลจากการประชุมทั้งสองการประชุมเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติและติดตามต่อไป โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ทส. ได้แก่
          (1) การประชุมโต๊ะกลมผู้บริหารระดับสูงในช่วงอาหารกลางวัน เรื่องเศรษฐกิจและการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ในการส่งเสริมสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
          (2) การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหภาพยุโรป สมัยพิเศษ ค.ศ. 2022 เรื่องการเปลี่ยนผ่านสีเขียวและดิจิทัล ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
          อียูเน้นย้ำข้อริเริ่ม “Global Gateway” ซึ่งมุ่งหวังที่จะระดมทุนมูลค่า 300,000 ล้านยูโร ภายในปี 2570 เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านดิจิทัล ทั้งนี้ อาเซียนขอให้อียูสนับสนุนการสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาสีเขียว โดยนายกรัฐมนตรีไทยส่งเสริมให้อาเซียนร่วมมือกับอียู โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล และการเปลี่ยนผ่านสีเขียว โดยไม่นำมาตรกฐานต่าง ๆ มาเป็นอุปสรรคทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และเสนอจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน-อียู เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์ (AI)

 

         กำหนดการจัดการประชุมรัฐมนตรี ASEAN-EU ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1 (the first EU-ASEAN Ministerial Dialogue on Environment and Climate Change) ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 แบบ back to back กับ การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน ครั้งที่ 17 (the 17th ASEAN Ministerial Meeting: AMME) ที่จะจัดขึ้น ณ สปป. ลาว พ.ศ. 2566

 

  ประเด็นด้าน Climate Change

 

          AWGCC EU-ASEAN Dialogue on Climate Action E-READIAWGCC ในการประชุมครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ดังนี้

 

          1. โครงการ Strengthening Science and Policy Interface in Climate Change related Decision-Making Process (อินโดนีเซีย): มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประสานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ระยะยาวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้การสนับสนุนของ EU (E-READI) โดยมีAdelphi เป็นหน่วยงานดำเนินการ ซึ่งได้จัดทำรายงาน Scoping Study on Strengthening Science and Policy Interface in Climate Change related Decision-Making Process: Laying the groundwork for the development of Long-term Strategies (LTS) in ASEAN โดยมีแนวโน้มความร่วมมือที่อาเซียนให้ความสำคัญในระยะยาวร่วมกัน อาทิการ แลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็น (1) วิสัยทัศน์ด้าน LTS (2) ประเด็นเชิงเทคนิค เช่น Modeling, feasibility and impact assessment, LTS data basis, LTS process and progress tracking และ (3) กลไกระดับภูมิภาค เช่น low-carbon technology, market-based mechanisms, LTS on adaptation, climate finance เป็นต้น

          ประเทศไทยสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว โดยผลผลิตได้เป็นรายงาน Scoping paper เรื่อง Strengthening Science and Policy Interface in Climate Change related Decision-Making Process ซึ่งมีการศึกษารวบรวมนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระยะยาวของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยในส่วนข้อมูลของประเทศไทย มีการศึกษาภายใต้แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานระยะยาวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศร่วมกับเป้าหมาย NDC รายงานแห่งชาติ (NC) และรายงานความก้าวหน้ารายสองปี (BUR) ฉบับที่ 3 ที่ประเทศไทยได้จัดส่งต่อกรอบอนุสัญญาฯ

 

           2. โครงการ ASEAN-EU Climate Finance Project (บรูไนดารุสซาลาม/ฟิลิปปินส์): มีเป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการ ASEAN Climate Finance Strategy เสนอโดยบรูไนดารุสซาลามและฟิลิปปินส์มี วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนายุทธศาสตร์ การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ อาเซียน และเตรียมความพร้อมของยุทธศาสตร์ ในการระดมทุนและการเข้าถึงแหล่งทุนทั้งใน ระดับชาติและภูมิภาค รวมทั้งมุ่งเน้น การยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โครงการได้รับการสนับสนุนจาก EU (E-READI) เพื่อพัฒนาต่อยอดจากโครงการ ASEAN Climate Finance Strategy โครงการอยู่ระหว่างพัฒนา concept เรื่อง ASEAN EU Climate Finance initiative มุ่งเน้นรวบรวม ข้อมูลและวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนใน ด้าน climate finance รวมทั้งจะมีการสำรวจ ความเห็นจากภาคเอกชนในอาเซียนและสหภาพ ยุโรปในประเด็นดังกล่าวด้วย

 

           3. โครงการ MRV for Carbon Pricing Instrument in ASEAN (สิงคโปร์): วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการตรวจวัดและรายงานข้อมูลการลดก๊าซเรือนกระจกและยกระดับกลไกตลาดคาร์บอนภายในประเทศเพื่อมุ่งสู่ความร่วมมือภายใต้ข้อ ๖ ของความตกลงปารีส โดย E-READI และสิงคโปร์จะจัดทำขอบเขตการศึกษาต่อไป

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง