ความร่วมมืออาเซียน - ประเทศญี่ปุ่น (ASEAN - JAPAN)

543 15 มิ.ย. 2566

ความร่วมมืออาเซียน – ประเทศญี่ปุ่น

  ASEAN - JAPAN  

 

ประเทศไทย    ทำหน้าที่  ASEAN - Japan Country Coordinator

 

  ASEAN - Japan Environmental Cooperation Initiative

เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 2017 ประกอบด้วย 3 สาขา ได้แก่
       (1) โครงสร้างพื้นฐาน โดยสนับสนุนเรื่อง waste-to-energy และ e-waste management เพื่อนำไปสู่เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
       (2) ความร่วมมือ SDGs เพื่อต่อสู้กับการทิ้งของเสียจากเรือ (ships and tankers) ลงสู่ทะเล การจัดการปรอทจากขยะอุปกรณ์ทางการแพทย์ และส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
       (3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการส่งเสริมความโปร่งใส่ การปรับตัวและการลดก๊าซเรือนกระจก โดยรับเงินสนับสนุนจาก the Japan-ASEAN Integrated Fund (JAIF)
และมีหัวข้อการดำเนินงานต่าง ๆ ภายใต้ข้อริเริ่ม (initiative) ได้แก่ (a) ขยะและการรีไซเคิล (b) เมืองยั่งยืน (c) การจัดการขยะของเสีย (d) มลพิษทางทะเล (e) สารเคมี (f) ความหลากหลายทางชีวภาพ และ (g) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

  ASEAN - Japan Climate Action Agenda 2.0

               ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อม อาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ญี่ปุ่นเสนอขยายกรอบความร่วมมือรอบใหม่ในโอกาสที่ความตกลงปารีสเข้าสู่ระยะดำเนินการในปี พ.ศ. 2564 โดยครอบคลุมหัวข้อเรื่อง Transparency Mitigation และ Adaptation เรียกว่า“ASEAN-Japan Climate Action Agenda 2.0” และเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อเน้นย้ำ 3 มิติของการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ความโปร่งใส การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัว โดยสรุปประเด็นที่ขยายความร่วมมือได้ ดังนี้ 

 

                1. กรอบความโปร่งใส (Transparency):

                    ความร่วมมือเดิม: การตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (MRV)

                    ความร่วมมือเพิ่มเติม: สนับสนุนการพัฒนาเพื่อจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (Inventory) และสนับสนุนการใช้ข้อมูลดาวเทียม (Greenhouse gases Observing SATellite: GOSAT) เพื่อวัดการปล่อยคาร์บอนของภูมิภาคอาเซียน

 

                2. ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation):

                    ความร่วมมือเดิม: JCM, PaSTI Co-Innovation (demonstration)

                    ความร่วมมือเพิ่มเติม:

                    (1) Long term Strategy and Policy Making เช่น การกำหนดฉากทัศน์ (Scenario formulation) Policy dialogue, Platform for Redesign 2020

                    (2) Decarbonization of Each Sector อาทิ Renewable Energy, Green Logistics, Waste, Water-Air (co-benefit), F-gas

                    (3) Dissemination of Technologies ได้แก่ JPRSI (public-private platform)

                    (4) Expansion of Zero Carbon Cities เช่น City-to-City Collaboration, International forum, Smart City

 

                3. ด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation):

                    ความร่วมมือเดิม: AP-PLAT, Disaster Prevention

 

                 นอกจากนี้ ภายใต้ Concept Note ญี่ปุ่นให้ข้อมูลว่าจะสนับสนุนอาเซียนให้เปลี่ยนผ่านสู่ Decarbonized Society ตามที่ระบุในร่างรายงาน ASEAN State of Climate Change Report (จัดทำโดย IGES ประเทศญี่ปุ่น) ASEAN-Japan Climate Action Agenda 2.0 เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับความร่วมมือในภูมิภาคด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมุ่งเน้นสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพและการดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อให้มีการปรับตัวและการลดการปล่อยก๊าซที่ตั้งอยู่บนหลักการกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ (transparency, mitigation and adaptation) และเสริมสร้างความพยายามในการมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonisation) มีโครงการที่เกี่ยวข้อง อาทิ

                     1) การจัดทำ ASEAN State of Environment Report ฉบับที่ 6

                     2) การขยายความร่วมมือ Zero carbon cities ภายใต้ city-to-city collaboration

                     3) ข้อริเริ่มเรื่องการป้องกันภัยพิบัติ (Disaster prevention initiatives)

                     4) โครงการ Japan Platform for Redesign: Sustainable Infrastructure (JPRSI) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างยั่งยืน