คณะทำงานอาเซียนด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ (AWGWRM)

841 24 เม.ย. 2566

คณะทำงานอาเซียนด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ
(ASEAN Working Group on Water Resources Management: AWGWRM)

 

 

             ประเทศสมาชิกอาเซียนมีหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรน้ำที่แตกต่างกัน มีการแบ่งส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในและต่างหน่วยงาน แต่ละประเทศมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างสถาบันที่เหมาะสมและการสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพ กฎหมาย และการบังคับใช้เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือ ประสานงาน และร่วมมือกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาค เพื่อให้ทรัพยากรน้ำจืดมีความยั่งยืนและประชาชนเกิดความมั่นใจ ในคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ตามแนวทางของแผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2548 บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมการมีน้ำดื่มที่มีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล สนับสนุนการอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

 

 วัตถุประสงค์:

            1. ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Water Resource Management: IWRM) เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำ การเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกัน และปริมาณน้ำที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

            2. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บริการน้ำกับประชาชนอย่างเพียงพอ และมีราคาถูก

            3. ลดจำนวนประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดและปรับปรุงสุขอนามัยที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

            4. ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ (น้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ) และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของสังคมและระบบนิเวศ

 

  วิธีการดำเนินการ:

            คณะทำงานอาเซียนด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ (AWGWRM) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างการประสานงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ และจะดำเนินการร่วมกับคณะทำงานอาเซียนสาขาต่างๆ เช่น AWGNCB, AWGCME และ AWGEE โดยดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติด้านน้ำ จะดำเนินการประสานงานกับ AWGCC และคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ACDM) ตามความจำเป็น นอกจากนี้ ยังดำเนินการร่วมกับ AWGESC ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำและสุขอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ รวมถึงร่วมกันปรึกษาหารือกับพันธมิตรในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้ AWGWRM จะทำหน้าที่ในการวางแผน ดำเนินงานด้านเทคนิค และนำไปปฏิบัติภายใต้พื้นที่ที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ โดยมีกลไกระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางเชิงกลยุทธ์สำหรับการทำงาน

 

  ความสำเร็จ:

            1. แผนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรน้ำของอาเซียน (พ.ศ. 2548) กล่าวถึงความท้าทายทั่วไปที่สำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในภูมิภาค แผนปฏิบัติการมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงการเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัยและสุขอนามัยการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สนับสนุนการจัดการลุ่มแม่น้ำแบบบูรณาการ และสนับสนุนบริการน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของประชาชน

            2. กรอบตัวชี้วัดประสิทธิภาพของการบริหารจัดการน้ำ เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2552 เพื่อติดตามและประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จของการบริหารจัดการน้ำของประเทศสมาชิกอาเซียน ใน 6 ด้านของการจัดการน้ำ ได้แก่ การจัดการน้ำประปา การจัดการชลประทาน การจัดการน้ำฝน การจัดการน้ำท่วม การจัดการมลพิษทางน้ำ และสุขอนามัย กรอบตัวชี้วัดได้มีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2558 โดยแบ่งเป็นตัวชี้วัด 4 ประเภท ได้แก่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน ตัวชี้วัดการจัดตั้งสถาบัน และตัวชี้วัดเครื่องมือการจัดการ

            3. ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดลงทุนในการเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพน้ำและระบบติดตามคุณภาพน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรน้ำและการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ อาเซียนได้จัดตั้งระบบการจัดการและรายงานข้อมูลน้ำ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับระบบติดตามคุณภาพของแม่น้ำในภูมิภาคของอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้อาเซียนประเมินสถานะและแนวโน้มของสภาพแหล่งน้ำและคุณภาพน้ำทั่วทั้งภูมิภาค

            4. ที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรม และการเยี่ยมชมภาคสนาม เพื่อระบุปัญหาและความท้าทาย แบ่งปันตัวอย่าง แนวปฏิบัติและประสบการณ์ที่ดีที่สุด และแนวทางแก้ไขที่เป็นไปได้สำหรับการจัดการความต้องการน้ำในเขตเมืองและเขตชลประทานของประเทศสมาชิกอาเซียน

            5. การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยความเสี่ยงและผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงของอุทกภัยและภัยแล้งในอาเซียน จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 เพื่อประเมินการจัดการอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศสมาชิกอาเซียน และเรียนรู้ว่าแต่ละประเทศสามารถรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งที่แตกต่างกันได้เพียงใด รวมทั้งแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และระบุเครื่องมือและการดำเนินงานที่จำเป็นเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ปัจจุบันของการจัดการน้ำท่วมและภัยแล้งของประเทศสมาชิกอาเซียน

 

  พันธมิตรที่มีศักยภาพและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

            กิจกรรมภายใต้ลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ดำเนินการผ่านความร่วมมือในระดับภูมิภาคกับองค์กรที่ทำงานด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ พันธมิตรที่มีศักยภาพ ได้แก่ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) หุ้นส่วนน้ำระดับโลก–เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Global Water Partnership - Southeast Asia: GWP-SEA) ประเทศอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) เครือข่ายองค์กรลุ่มน้ำเอเชีย (Network of Asian River Basin Organisations: NARBO) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ (International Commission on Irrigation and Drainage: ICID)

            หน่วยงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) กิจกรรมต่างๆ ดำเนินการโดยความร่วมมือกับคู่เจรจา/องค์กรพัฒนา หรือผ่านกรอบความร่วมมืออาเซียน-คู่เจรจา เช่น Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF) และ ASEAN-ROK Centre 

            องค์กรอื่นๆ ที่สามารถสนับสนุนการสร้างการรับรู้ของสาธารณชนและกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ ตลอดจนการประสานงานข้ามสาขา ได้แก่ Union for the  Conservation of Nature (IUCN) and National Institute for Environmental Studies (NIES)

 

  กิจกรรมและโครงการ:

            1. การรวบรวม จัดพิมพ์ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดี

            2. เผยแพร่กรอบตัวชี้วัดอาเซียน IWRM สู่ภาคส่วนต่างๆ

            3. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

            4. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง

            5. ดูแล ปรับปรุงเว็บไซต์การจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการของอาเซียน

            6. บำรุงรักษาการจัดการและการรายงานข้อมูลน้ำของอาเซียน และการออกแบบระบบ

            7. ประเมินผลการดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับตัวชี้วัด