แผนการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ตามแผนงานประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2559-2568

495 20 เม.ย. 2566

แผนการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม

ตามแผนงานประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2559 - 2568

 

              วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2568 ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดมาตรการการดำเนินการไว้ในแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2559 - 2568 ภายใต้ประเด็น “ความยั่งยืน” ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

 

  ความยั่งยืน (Sustainable)
 

            เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุดของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2568 ท่ามกลางบริบทของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางสังคมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนได้กำหนดบรรจุประเด็นความยั่งยืนไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสังคมที่สมดุลและมีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุกรุ่นทุกสมัยได้ เพื่อการเป็นประชาคมอาเซียนที่เข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้อย่างเท่าเทียมกันและสามารถเกื้อหนุนการพัฒนาสังคมและขีดความสามารถในการต่อยอดไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปได้ ทั้งนี้ ได้กำหนดผลลัพธ์ที่มุ่งหวังและมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ ได้แก่

 

1. การอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (Conservation and Sustainable Management of Biodiversity and Natural Resources)

          1.1  สร้างความเข้มแข็งต่อความร่วมมือในระดับภูมิภาค เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

          1.2  สร้างความเข้มแข็งให้ความร่วมมือในระดับภูมิภาคว่าด้วยการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการดำเนินการตามข้อตกลงอาเซียนในเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน

          1.3  ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อปกป้อง ฟื้นฟู และการใช้สิ่งแวดล้อมทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

          1.4  รับนำแนวปฏิบัติที่ดีมาใช้และพัฒนานโยบายในการจัดการผลกระทบที่มีต่อน่านน้ำชายฝั่งและสากลและปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน

          1.5  ส่งเสริมการพัฒนานโยบายและขีดความสามารถ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

          1.6  ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานเพื่อให้มีการจัดการระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

          1.7  ส่งเสริมความร่วมมือเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อไปสู่ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนโดยใช้สิ่งแวดล้อมศึกษา

          1.8  เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหุ้นส่วนระดับโลกและระดับภูมิภาคและสนับสนุนการปฏิบัติตามความตกลงและกรอบดำเนินงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

          1.9  ส่งเสริมบทบาทของศูนย์อาเซียนเพื่อความหลากหลายชีวภาพ

          1.10  สนับสนุนการปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพปี พ.ศ. 2563 และเป้าหมายไอจิอย่างเต็มที่

 

2. เมืองที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmentally Sustainable Cities)

          2.1  ส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการในการวางผังเมืองและการบริหารจัดการสำหรับการเป็นชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน

          2.2  เสริมสร้างขีดความสามารถของสถาบันในระดับชาติและท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่

          2.3  ส่งเสริมการประสานงานระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาซึ่งการเข้าถึงที่ดินที่สะอาด สถานที่สาธารณะสีเขียว อากาศที่บริสุทธิ์ น้ำที่สะอาดและปลอดภัยและถูกสุขอนามัย

          2.4  ส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ โดยการจัดหาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเข้าถึงได้และมีความยั่งยืน

          2.5  เสริมสร้างความเชื่อมโยงเชิงบวกด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมระหว่างพื้นที่เมือง ชานเมือง ชนบท

          2.6  เสริมสร้างนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการผลกระทบของการเพิ่มจำนวนประชากร และการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปอยู่อาศัยในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3. สภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืน (Sustainable Climate)  

          3.1  เพิ่มพูนขีดความสามารถในการดำเนินการเกี่ยวกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          3.2  พัฒนาการตอบโต้ต่อความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          3.3  ยกระดับการให้ภาคเอกชนและชุมชนเข้าถึงกลไกทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          3.4  เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรและรัฐบาลท้องถิ่นในการทำรายการก๊าซเรือนกระจก

          3.5  ส่งเสริมรัฐบาล ภาคเอกชน และชุมชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          3.6  บูรณาการมิติของการจัดการความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการวางแผนเฉพาะสาขา

          3.7  เสริมสร้างความเข้มแข็งให้หุ้นส่วนระดับโลกและสนับสนุนการดำเนินการตามข้อตกลงและกรอบการดำเนินงานระหว่างประเทศต่าง ๆ อาทิ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)

 

4. การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production)

          4.1  เสริมสร้างความเข้มแข็งให้หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนด้านการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

          4.2  ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมศึกษา ความตระหนักรู้ และขีดความสามารถในการบริโภคอย่างยั่งยืนและการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ

          4.3  เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะที่ดี และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

          4.4  ส่งเสริมการบูรณาการยุทธศาสตร์และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในนโยบายระดับชาติและระดับภูมิภาค