คณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (AWGCC)

813 5 เม.ย. 2566

คณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

(ASEAN Working Group on Climate Change: AWGCC)

 

  วัตถุประสงค์:

          1. ส่งเสริมความร่วมมือภูมิภาคและระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัว การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเสริมสร้างขีดความสามารถ การประสานงานข้ามสาขา และหุ้นส่วนระดับโลก

          2. ดำเนินตามกรอบงานด้านสภาพภูมิอากาศระดับโลก อาทิ ความตกลงปารีสภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

          3. ร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและบทเรียน รวมถึงการเข้าถึงทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate finance)

 

   ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Blueprint 2025 

C. Sustainable Climate

มาตรการยุทธศาสตร์ (Strategic measures)

          1. สร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถของประชาชนและหน่วยงานในการดำเนินงานด้านการปรับตัวและการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชายขอบ

          2. ประสานงานในการพัฒนาการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีความครอบคลุมและสอดคล้องกัน โดยใช้แนวทางภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหลากหลายสาขา

          3. ยกระดับภาคเอกชนและชุมชนให้เข้าถึงกลไกทางการเงินแบบนวัตกรรมใหม่ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          4. เสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานในสาขาต่างๆ ทั้งภาครัฐ และส่วนท้องถิ่นในการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas (GHG) inventory) และการประเมินความเปราะบาง รวมถึงระบุความต้องการด้านการปรับตัว

          5. สร้างความเข้มแข็งในความพยายามของรัฐบาล ภาคเอกชน และชุมชนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหลัก ๆ

          6. นำกระแสหลักของการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่กระบวนการวางแผนในสาขาต่าง ๆ

          7. สร้างความเข้มแข็งให้หุ้นส่วนระดับโลกและสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรอบการดำเนินงานต่าง ๆ อาทิ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

              แผนพิมพ์เขียวของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ค.ศ. 2025 (ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Blueprint 2025) ตระหนักถึงความเชื่อมโยงของปัญหาความยากจน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความจำเป็นที่ต้องใช้แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศแบบรอบด้าน ทั้งสำหรับในปัจจุบันและเตรียมรับมือกับความท้าทายในอนาคต ซึ่งไม่ใช่แค่สภาพอากาศที่รุนแรงแต่ยังเกี่ยวข้องกับมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ และเป็นตัวกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาเมืองสะอาด และการปรับปรุงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

 

              การดำเนินงานระดับโลก อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) กำหนดกรอบการดำเนินงานให้กับประเทศสมาชิกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และการปรับตัว (Adaptation) (เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน) โดยความตกลงปารีส (Paris Agreement) ภายใต้UNFCCC มีผลบังคับเมื่อปี ค.ศ. 2015 ในคราวการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP) ครั้งที่ 21 ได้กระตุ้นให้รัฐภาคีสมาชิกจัดทำและส่งข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี พ.ศ. 2563 (Intended Nationally Determined Contributed: INDC) รวมถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นเป้าหมายสำคัญของวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goal 13: SDG13) ซึ่งให้ความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

              เมือง (Cities) ถือเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลัก เมืองในภูมิภาคอาเซียนจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องแสวงหาการดำเนินการทางเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมขนส่ง แบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งภูมิภาคอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประชาคมโลก และอาเซียนได้ประกาศและกล่าวถ้อยแถลงแสดงถึงความเข้าใจ ท่าที และแรงบันดาลใจร่วมกันที่จะก้าวไปสู่การแก้ไขปัญหาระดับโลกที่ท้าทายเพื่อให้ประชาคมอาเซียนมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการดำเนินงานทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

 

              ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ในหลากหลายกิจกรรม หลายประเทศสมาชิกอาเซียนประกาศความตั้งใจในเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในหลายสาขาเพื่อมุ่งสู่คาร์บอนต่ำ อาทิ การใช้ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และป่าไม้ (Land-use, land-use change and forestry) พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) คมนาคมขนส่ง (transportation) พลังงานน้ำ (hydropower) การเกษตร และขยะของเสีย ทั้งนี้ หลายประเทศสมาชิกได้เริ่มมีการสร้างเสริมขีดความสามารถในการปรับตัวโดยนำกระแสการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ในแผนการพัฒนา

 

              การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (INDC) อาจกว้างและครอบคลุมหลายภาคส่วนเพื่อให้มีการลดการปล่อยก๊าซให้ได้จำนวนมาก ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องมีให้การดำเนินงานภายใต้ INDC ที่มีความสอดคล้องกันของนโยบาย การถ่ายทอดเทคโนโลยี แหล่งทุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และข้อตกลงการค้าขาย แผนยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมอาเซียน (ASEAN Strategic Plan on Environment: ASPEN) ส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยภายใต้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย ๕ แผนงาน ได้แก่ (i) การปรับตัวและการสร้างภูมิคุ้มกัน (adaptation and resilience) (ii) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation) (iii) การถ่ายทอดเทคโนโลยี (technology transfer) (iv) การเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate finance) และ (v) การประสานงานข้ามสาขาและหุ้นส่วนระดับโลก (cross-sectoral coordination and global partnerships)

 

  ผลงานที่เกี่ยวข้อง 

            ASEAN Joint Statementsor Declarations on Climate Change เป็นการแสดงจุดยืนร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับการเจรจาต่อรองในการประชุม COP โดยถ้อยแถลงหรือการประกาศเจตนารมย์ดังกล่าวได้ผ่านการรับรองของผู้นำประเทศสมาชิกในการประชุม ASEAN Summits ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2007

            ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ความเสื่อมโทรมของคุณภาพอากาศ พัฒนาเพื่อก้าวสู่การคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืนแบบคาร์บอนต่ำ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้การคมนาคมขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการผสานการวางแผนด้านการขนส่งและการใช้ที่ดิน

 

   The 33rd ASEAN Senior Officials on the Environment (ASOEN) Meeting  

             ผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 33 เดือนตุลาคม 2565 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ได้รวมรวบผลงานของคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Working Group on Climate Change: AWGCC) ตามแผนงาน (AWGCC Action Plan) ดังนี้

 

  โครงการที่สำเร็จแล้ว

            1. ASEAN State of Climate Change Report (ASEC)

            2. Scoping Study on Strengthening Science and Policy Interface in Climate Change related Decision-Making Process: Laying the Groundwork for Development Long-term Strategies (LTS) in ASEAN (Indonesia, EREADI)

 

  โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการภายใต้ AWGCC

            1. The Establishment of ASEAN Centre for Climate Change (ACCC)

            2. Advancing ASEAN Initiative on Clean Air, Health, and Climate Change (The Philippines)

            3. ASEAN Climate Finance Strategy (Brunei/the Philippines/UNFCCC RCC)

            4. Enhancing Cooperation on Carbon Pricing among AMS

 

  โครงการเตรียมเริ่มดำเนินการ (pipeline)

             1. ASEAN ROK Carbon Dialogue (ROK)

             2. Partnership for ASEAN-ROK Methane Action (PARMA) (ROK)

             3. ASEAN Germany Climate Action Programme (GIZ)

             4. Ocean and Climate Change (Indonesia)

             5. Formulation of ASEAN Roadmap on Climate Change Capacity Building (Thailand อบก)

             6. ASEAN Climate Change Strategic Action Plan 2030